เรียบเรียง โดย จรรยา แซ่เจียง
Cover photo credit: https://www.pexels.com/photo/flag-italy-7522/
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิในสวัสดิการและบำนาญ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานบริหารสวัสดิการกลางที่บริหารประกันสังคมและบำนาญทั่วไปในประเทศอิตาลีคือ Istituto Nazionale Previdenza Sociale นิยมเรียกชื่อย่อสั้น ๆ ว่า INPS ซึ่งจะมีสาขาในทุกจังหวัดและสำนักงานตามเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศ
เว็บไซต์ https://www.inps.it
วิธีติดต่อ
ผู้ที่ตกอยู่ในฐานะหม้ายและต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการเช่น บำนาญตกทอด เงินแม่หม้าย เงินอุดหนุนครอบครัวยากจน สามารถไปติดต่อได้ด้วยตัวเองที่สำนักงานหรือ
- ทางหมายเลข Contact Center 803 164 (จากสายบ้าน) หรือ 06 164 164 (จาก mobile)
- ทางอีเมลลงทะเบียน Posta Elettronica Certificata (PEC) โดยหาที่อยู่ PEC ที่เกี่ยวข้องได้จาก https://www.inps.it/contatti/pec
- โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยโปรแกรม SKYPE ได้จากทั่วโลก
- เช็คสิทธิและกรอกคำร้องออนไลน์ด้วยตนเองผ่านทางระบบแสดงตนทางดิจิตอล SPID – Sistema Pubblico di Identità Digitale
หมายเหตุ: ควรเตรียมหมายเลขรหัสประจำตัว 16 หลักไว้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อความสะดวกในการเช็คสิทธิ
ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์
ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงสำนักงานสวัสดิการกลางอาจจะเป็นเพราะมีอุปสรรคทางภาษาหหรือไม่ถนัดเรื่องไอที ยังมีอีกช่องทางหนึ่งคือการขอความช่วยเหลือจากองค์กรอิสระเช่นศูนย์พิทักสิทธิ์มืออาชีพ ที่ได้รับการอนุญาตจากรัฐบาล เช่น CAF, CGIL, INCA, ACLI, INAC, INPAS, INAS
องค์กรเหล่านี้จะมีสำนักงานกระจายอยู่ทุกเขตทั่วประเทศ ให้บริการตั้งแต่ช่วยสร้างอีเมล เช็คสิทธิ คำนวณค่าบำนาญ ค่าดัชนีฐานะครอบครัว ลงทะเบียนรับสิทธิ กรอกเอกสาร ดำเนินเรื่องรับมรดก ฯลฯ โดยนักบัญชี นักกฎหมายสาขาต่าง ๆ ให้บริการในราคาย่อมเยา
สำนักงานเขตเทศบาลเมือง Comune ช่วยอะไรได้บ้าง ?
นอกจากอำนาจจัดการของสำนักงานสวัสดิการกลาง (INPS) ในแต่ละเขตปกครอง Comune จะมีงบประมาณท้องถิ่นเพื่อบรรเทาทุกข์เฉพาะหน้าเช่น คูปองจ่ายตลาด บ้านพักฉุกเฉิน แพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์และทนายเพื่อประชาชนในพื้นที่ ซึ่งผู้ร้องสามารถติดต่อทางเขต Comune ได้ด้วยตัวเอง
การแต่งงานและการหย่าร้าง
- ตามกฎหมายประเทศอิตาลี เมื่อจดทะเบียนสมรสกัน สามีภรรยาสามารถระบุวิธีการจัดการทรัพย์สินหลังแต่งงานได้สองแบบ เพื่อความชัดเจนในกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินในกรณีหย่า กล่าวคือ
- มีสินสมรสร่วมกัน comunione dei beni
- ไม่มีสินสมรสร่วมกัน separazione dei beni
- สัญญาข้อตกลงก่อนแต่งงานใด ๆ ที่คู่สมรสทำขึ้นเองเป็นการส่วนตัว contratto pre-matrimonio
จะไม่มีผลตามกฎหมายอิตาลี
- ในกฎหมายครอบครัวอิตาลี มีข้อบังคับหลัก กล่าวคือ
- คู่สมรสต้องดูแลกันทั้งทางกายและใจ ซื่อสัตย์ต่อกัน ไม่นอกใจกัน*
- คู่สมรสต้องอยู่ร่วมบ้านเป็นครอบครัวเดียวกัน มีสิทธิในการเลือกที่อยู่ร่วมกัน
- คู่สมรสต้องช่วยกันเลี้ยงดู อบรม ให้การศึกษาและสนับสนุนตามพรสวรรค์ของบุตร
- คู่สมรสที่ขาดคุณสมบัติ (2.1) (2.2) (2.3) ข้อใดข้อหนึ่ง อาจเป็นเหตุให้เกิดการแยกทางและหย่าร้างกัน
- ผู้ที่เป็นต้นเหตุของการหย่าร้าง หรือตกเป็นฝ่ายผิด อาจจะถูกเรียกค่าเลี้ยงดูจากอีกฝ่าย
- การทำเรื่องขอให้ทางการรับรองการแยกกันอยู่ (ยังไม่หย่า) ช่วยให้คู่สมรสหลุดพ้นจากข้อบังคับ (2.1) และ (2.2) และไม่ตกเป็นฝ่ายผิด
ขั้นตอนการหย่า
- กรณีคู่สมรสที่ไม่มีบุตรร่วมกัน
- หากทั้งคู่สมัครใจหย่าโดยไม่มีการบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สิน สามารถดำเนินการขอแยกทางได้ที่สำนักงานเขตและหลังจากที่แยกกันอยู่ครบ 6 เดือนจึงจะทำเรื่องขอหย่าได้ (Rito abbreviato al Comune)
- หากต้องการให้มีการบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินเช่น ค่าเลี้ยงดู ค่าหย่า การแบ่งทรัพย์สิน ต้องดำเนินการแยกกันอยู่โดยให้ทนายร่วมกันทำเรื่องร้องต่อศาลให้ออกคำสั่งรับรองการแยกกันอยู่และหลังจากนั้น 6 เดือนรับรองการหย่า จากนั้นนำคำสั่งศาลไปบันทึกที่สำนักงานเขต
- กรณีคู่สมรสที่ตกลงเรื่องทรัพย์สินกันไม่ลงตัว หากฝ่ายหนึ่งหรือทั้งคู่ยังต้องการหย่าจะต้องให้ทนายทำเรื่องร้องต่อศาลนั่นคือการ “ฟ้องหย่า” นั่นเอง กรณีฟ้องหย่าทั้งคู่ต้องมีทนายคุ้มครองผลประโยชน์ตัวเอง ใช้ทนายร่วมกันไม่ได้
- กรณีคู่สมรสมีบุตรผู้เยาว์ร่วมกัน
- หากทั้งคู่สมัครใจหย่าโดยมีข้อตกลงร่วมกันลงตัวแล้ว สามารถใช้ทนายคนเดียวทำเรื่องขอแยกกันอยู่ต่อศาล หลังจากนั้น 12 เดือนจึงให้ทนายทำเรื่องหย่าได้
- หากคู่สมรสตกลงกันไม่ได้ จำเป็นต้องมีทนายกันทั้งคู่เพื่อคุ้มครองคู่กรณีบนชั้นศาลต่อไป
การสูญเสียคู่สมรสจากการเสียชีวิต
- สิทธิรับบำนาญตกทอดจากคู่สมรสที่เสียชีวิตขณะรับเงินเกษียณ
- หม้ายไม่มีบุตร รับตกทอด 60 %
- ไม่มีคู่สมรส แต่มีบุตรผู้เยาว์ รับตกทอด 70 %
- หม้ายมีบุตรผู้เยาว์ 1 คน รับตกทอด 80% บุตร 2 คนขึ้นไปรับ 100 %
- ไม่มีเงื่อนไขเรื่องสัญชาติ
- สิทธิรับเงินแม่หม้าย หากคู่สมรสที่เสียชีวิตยังไม่ได้รับเงินเกษียณ แต่มีคุณสมบัติดังนี้
- ทำงานเสียภาษีครบอายุงาน 780 อาทิตย์ หรือ
- ทำงานเสียภาษีครบอายุงาน 260 อาทิตย์และในห้าปีสุดท้ายของชีวิตจ่ายภาษีครบ 156 อาทิตย์ของการทำงาน
- ไม่มีเงื่อนไขเรื่องสัญชาติ
- ไม่มีเงื่อนไขเรื่องอายุสมรสขั้นต่ำ
- เงินบำนาญตกทอดและเงินแม่หม้ายเป็นสิทธิที่แม่หม้ายสามารถรับได้ตลอดชีวิตโดยไม่มีเงื่อนไขเรื่องถิ่นที่อยู่ เพราะฉะนั้นแม่หม้ายย้ายกลับไปใช้ชีวิตและรับเงินเข้าตรงบัญชีในประเทศไทยได้
- แม่หม้ายต้องทำตามหน้าที่โดยต้องแสดงตนว่ายังมีชีวิตอยู่ทุกปีตามวิธีที่รัฐกำหนด
- เงินบำนาญตกทอดและเงินแม่หม้ายไม่สามารถตกทอดไปถึงลูกหลานได้อีกต่อไป
- เงินบำนาญตกทอดและเงินแม่หม้ายถือเป็นรายได้จึงต้องจ่ายภาษีเงินได้ตามปกติ
- เมื่อจำนวนเงินถึงเกณฑ์ สามารถใช้อ้างอิงเพื่อต่ออายุใบพำนักได้โดยไม่จำเป็นต้องแสดงสัญญางาน
- เงินชดเชยหม้ายไร้สิทธิบำนาญใน Indennità di morte – Indennità una tantum กรณีที่คู่สมรสไม่มีคุณสมบัติครบตามหัวข้อ 1) และ 2) ตามวิธีคำนวณที่รัฐกำหนด
พินัยกรรมและมรดก
กรณีไม่มีพินัยกรรม
- มีคู่สมรส (ไม่มีลูก ไม่มีพ่อแม่พี่น้อง)
- ได้สมบัติทั้งหมด
- มีบุตรหนึ่งคน หรือมากกว่า (ไม่มีคู่สมรส)
- แบ่งในสัดส่วนเท่ากัน
- คู่สมรส + บุตรหนึ่งคน (ญาติอื่นจะไม่มีสิทธิ)
- แบ่งกันคนละครึ่ง
- คู่สมรส + บุตรหลายคน (ญาติอื่นไม่มีสิทธิ)
- คู่สมรสได้ 1/3 ส่วน
- ที่เหลือ (2/3) ลูกแบ่งในสัดส่วนเท่ากัน
- คู่สมรส + พี่น้องสายตรง (กรณีไม่มีพ่อแม่และบุตร)
- คู่สมรส + พ่อแม่ (กรณีไม่มีบุตรและพี่น้อง)
- คู่สมรส 2/3 ส่วน
- คู่สมรส + พ่อแม่ + พี่น้อง (กรณีไม่มีบุตร)
- คู่สมรส 2/3 ส่วน
- ส่วนที่เหลือ (1/3) พ่อแม่พี่น้องนำไปแบ่งกันโดยส่วนของพ่อและแม่จะต้องได้อย่างน้อยคนละ 1/4 ของจำนวนนั้น
- พ่อแม่พี่น้อง (ไม่มีคู่สมรส)
- พ่อและแม่จะต้องได้อย่างน้อย 1/2 ที่เหลือจากนั้นพี่น้องจึงได้แบ่งในสัดส่วนเท่ากั
กรณีมีพินัยกรรม อย่างไรก็ตามกฎหมายจะคุ้มครองทายาทโดยธรรมดังนี้
- คู่สมรส 1/2 ส่วน
- บุตร (กรณีไม่มีคู่สมรส) 1/2 ส่วน
- บุตรหลายคน (กรณีไม่มีคู่สมรส) 2/3 ส่วน (แบ่งสัดส่วนเท่ากัน)
- คู่สมรส + บุตรหลายคน คุ้มครองคู่สมรส 1/4 ส่วน คุ้มครองบุตร 1/2 ส่วน (นำไปแบ่งในสัดส่วนเท่ากัน)
- คู่สมรส + พ่อแม่ คุ้มครองคู่สมรส 1/2 ส่วน คุ้มครองพ่อแม่ 1/4 ส่วน (นำไปแบ่งในสัดส่วนเท่ากัน)
- พ่อแม่ (ไม่มีคู่สมรส) คุ้มครอง 1/3 ส่วน
หมายเหตุ มรดกเป็นเงินจำนวนไม่ถึง 1 ล้านยูโร คู่สมรสไม่เสียภาษีมรดก
รัฐคุ้มครองและช่วยเหลืออะไรได้บ้าง ?
- บริการทนายเพื่อประชาชน
- นโยบายชดเชยรายได้ขั้นต่ำ
- เช็คครอบครัว
- ศูนย์ต่อต้านความรุนแรง
- บ้านเอื้ออาทร
- นักจิตวิทยาครอบครัว
- คอร์สฝึกอาชีพ
- ประกันสุขภาพจากรัฐ
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.inps.it/prestazioni-servizi/pensione-ai-superstiti-indiretta-e-di-reversibilita
https://www.inps.it/prestazioni-servizi/indennita-una-tantum-ai-superstiti
https://www.soldioggi.it/indennita-per-morte-19698.html