กำลังใจในวันที่อ่อนแอ (สารสตรี ๒๐๑๗)

กำลังใจในวันที่อ่อนแอ ท้อแท้ และสิ้นหวัง

อับราฮัม มาสโลว์ (Abrahum Maslow) กล่าวว่า มนุษย์เป็น “สัตว์ที่มีความต้องการ” (wanting animal) ความต้องการนี้ติดตัวมนุษย์มาแต่กําเนิด และเป็นความต้องการที่มีลําดับขั้นซึ่งมี 5 ขั้น และเมื่อแต่ละขั้นได้รับการตอบสนอง มนุษย์เราจะขยับความต้องการขึ้นไปอีกขั้น เช่น อยากได้เสื้อใหม่ ถ้ามีเงินมากก็อยากได้ยี่ห้อดัง ต้องจ่ายแพงขึ้น เมื่อได้แล้ว อยากไปเที่ยวสถานที่สวยงาม อยากถ่ายรูปสวย ๆ อยากมีโทรศัพท์ที่มีกล้องถ่ายรูปแล้วคมชัดสวยงาม หรือมีแอพพลิเคชั่นเยอะ ๆ แน่นอนราคาคงไม่ถูก เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความต้องการที่ไม่เคยหยุดนิ่งของมนุษย์

การดิ้นรนขนขวยหาวัตถุต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์นี้คือการดําเนินชีวิตที่เป็นความจริงของมนุษย์เราในปัจจุบัน แต่ในทางตรงกันข้าม หากเราไม่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ของเราได้ ปัญหาที่เป็นข่าวหลากหลายแนวให้เห็นในปัจจุบันก็จะติดตามตัวมนุษย์เราไปเหมือนเงาติดตามตัว ฉันใดถ้าเราไม่หยุดความต้องการเหล่านี้ไว้ที่คําว่า “พอเพียง”

คนเราเกิดมาบนพื้นฐานของความรักของพ่อและแม่ เพราะกว่าคนเราแต่ละคนจะเกิดได้ และเติบโตมาจนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เราได้รับความรักจากพ่อแม่ญาติพี่น้องและคนใกล้ชิด ได้รับการศึกษาที่ดีจากโรงเรียนที่เลือกสรรให้แล้วว่าดี และเมื่อโตขึ้นลูกสามารถเลือกสถานศึกษาได้เองตามชอบใจ โดยมีพ่อแม่คอยเกื้อหนุน เมื่อลูกประสบความสําเร็จในวันข้างหน้า พ่อแม่มีสุขใจ หากลูกไปไม่ถึงฝั่งฝัน พ่อแม่พร้อมที่จะให้กําลังใจ และผลักดันกันไปจนถึงที่สุด นี่คือความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก

เมื่อลูกประสบความสําเร็จในวันข้างหน้า พ่อแม่มีสุขใจ หากลูกไปไม่ถึงฝั่งฝัน พ่อแม่พร้อมที่จะให้กําลังใจ

จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันนี้สังคมชนบทถูกกลืนด้วยความศิวิไลซ์ ผู้คนหลากหลายวัฒนธรรม เทคโนโลยีที่ใหม่และทันสมัยขึ้น รวมทั้งวัตถุนิยมต่าง ๆ ล้วนต้องตาล่อใจให้ผู้คนลุ่มหลง ครอบครัวใหญ่กลายเป็นครอบครัวเล็กที่มีพ่อแม่ลูก แม้การลดจํานวนประชากรเป็นการช่วยต่อลมหายใจของสรรพสัตว์น้อยใหญ่และธรรมชาติทั้งหลาย แต่ไม่ช่วยลดต้นทุนชีวิต แม้จะจํากัดประชากรเกิด แต่ประชากรที่มีอยู่กลับมีอายุขัยที่ยืนยาวมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากผลการวิจัยขององค์การอนามัยโลก (Who) เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2558 พบว่า ประชากรโลกมีอายุขัยยืนยาวเพิ่มมากขึ้นโดยเฉลี่ย 6 ปี ประเทศที่มีประชากรอายุขัยสูงที่สุดคือ ประเทศญี่ปุ่น รองลงมาคือประเทศสิงคโปร์

จากผลการวิจัยดังกล่าวบอกว่า การมีอายุยืนยาวมากขึ้นไม่ได้หมายความว่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีเสมอไป คนที่มีอายุยืนยาวขนาดนั้นต้องเป็นคนที่ใส่ใจดูแลสุขภาพควบคู่กับการออกกําลังกาย จึงจะมีอายุยืนยาวได้ แต่คนเรากว่าจะมีอายุยืนยาวขนาดนั้น ต้องผ่านประสบการณ์ชีวิตมาอย่างโชกโซนแล้ว จึงสามารถยืนหยัดอยู่ได้
แต่ทุกวันนี้ที่น่าห่วงคือเยาวชนที่อายุยังน้อย แต่ได้ก้าวผ่านประสบการณ์ชีวิตไปอย่างก้าวกระโดด เช่น ในวัยเด็กควรจะได้รับความรักจากพ่อแม่หรือครอบครัวหรือคนใกล้ชิด แต่บางคนต้องใช้ชีวิตในวัยเด็กในสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ ในวัยรุ่นควรจะได้อยู่กับครอบครัว แต่กลับจับกลุ่มอยู่กับเพื่อน อยู่กับแฟน และเกิดปัญหาทางสังคมอื่น ๆ ตามมา เช่น ศึกชิงรักหักสวาท อกหัก ท้องไม่รับ ทําแท้ง สุดท้ายฆ่าตัวตาย หรือถูกฆ่าตายกลายเป็นฆาตกรรมไป ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องเศร้า สะเทือนใจในครอบครัว และสังคม

ผู้บริหารย่อมนิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะการสูญเสียคนไปย่อมหมายถึงการสูญเสียงบประมาณ สูญเสียทรัพยากรที่มีค่าอย่าง “ทุนมนุษย์”

ผู้เขียนไม่อยากใช้คําว่า ทุกวันนี้คนเราห่างศาสนา ห่างการปฏิบัติธรรม ซึ่งทุกศาสนาล้วนสอนให้เราทําแต่ความดี  เพราะคนดีมีศีลธรรม มีจริยธรรมในสังคมย่อมมีอยู่มากนั่นเอง แต่ปัญหาที่กล่าวมากลับสร้างความสะเทือนใจให้กับครอบครัวและสังคม ซึ่งแน่นอนผู้บริหารย่อมนิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะการสูญเสียคนไปย่อมหมายถึงการสูญเสียงบประมาณ สูญเสียทรัพยากรที่มีค่าอย่าง “ทุนมนุษย์” ไปอย่างประเมินค่าไม่ได้

เมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาตามแนวคิดทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของซิกมันต์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) พบว่า Id คือจิตที่ประกอบด้วยความต้องการของมนุษย์ตามธรรมชาติ และมี Ego คือตัวเราเองคอยควบคุม Id ดังนั้นจึงบอกได้ว่า เพราะคนเรามีความต้องการ และมีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นตามลําดับขั้น จึงต้องแสวงหาทางที่จะสนองตอบความต้องการเหล่านั้น

เช่น อยากได้ Smartphone และต้องเป็น iPhone เท่านั้น เพราะค่านิยมตามแฟชั่น ทําอย่างไรเราถึงจะได้มา ต้องมองย้อนกลับไปว่าตั้งใจเรียนหนังสือ เรียนจบมีงานทํา มีรายได้ และเพียงพอ จึงจะสนองความต้องการนี้ได้ แต่ถ้าไม่ได้มีขั้นตอนมาอย่างนี้ ถ้าไม่โชคดี ไม่มีวาสนา ไม่ใช่เกิดมาร่ํารวย วิธีไหนจะได้มา ถ้าไม่ใช่หนทางที่ไม่สุจริต หรือการร้องขอจากผู้ปกครอง ถ้าไม่มีให้ ปัญหาอื่นจะตามมาอีก เช่น น้อยใจ พ่อแม่ไม่รัก ไม่เข้าใจ ไม่ทันสมัย แค่นี้ก็ซื้อให้ไม่ได้ อยู่ไม่ได้แล้วบ้านนี้ อยู่ไปก็ไม่มีอะไรดี หนีไปอยู่ที่อื่น สร้างเรื่องราวให้แก้ปัญหากันไป หรือท้ายสุดโลกนี้ไม่มีใครรัก อย่าอยู่เลยตายซะดีกว่า เป็นต้น เหล่านี้คือปัญหา

สําหรับทางออกที่ดี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศ รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) พระมหากษัตริย์ไทย ผู้เป็นพระมหากษัตริย์เหนือพระมหากษัตริย์ทั้งปวง (King of the Kings) และเป็นปราชญ์แห่งแผ่นดิน ได้ทรงริเริ่มแนวคิดทฤษฎีใหม่ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” และในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าศาสดาเอกของโลกได้สอนเรื่องศีล 5 ซึ่งเป็นคําสอนให้คนเราประพฤติดีงาม สอนเรื่องอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นความทุกข์ทั้งปวง และสอนให้เราฝึกสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบและมีสติมากขึ้น

ดังนั้น ผู้เขียนจึงอยากให้ท่านผู้อ่านลองฝึก ลองปฏิบัติ และศึกษาเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ อย่างน้อยจะช่วยให้ผู้มีความทุกข์ ทุกข์น้อยลง หายเหนื่อยจากปัญหาชีวิต มีโอกาสได้ตริตรองมองหาแสงสว่างของทางออกปัญหานั้น ๆ แล้วท่านจะทุกข์น้อยลง และหมดสิ้นไปด้วยการมั่นฝึกจิตด้วยการนั่งสมาธินั่นเอง

จงอย่าได้ด่วนตัดสินใจอะไรที่ไม่ดีงามต่อตัวเองโดยปราศจากการถามไถ่หรือปรึกษาคนที่รักเรา

ทุกคนเกิดมาจากความรัก และคนที่รักเรามากที่สุดคือพ่อกับแม่ ชีวิตเราหนึ่งชีวิตไม่ใช่เพียงเราเท่านั้นที่มีสิทธิ์ทําอะไรก็ได้ การจะทําอะไรลงไปขอให้เพื่อนมนุษย์โลกคิดเสมอว่า “ทุกคนล้วนมีสิทธิ์ในตัวของเรา เช่น แม่มีสิทธิ์คือผู้ให้กําเนิด พ่อคือผู้เลี้ยงเรามา มีหลายคนที่มีสิทธิ์เพราะทําให้เรามีวันนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีสิทธิ์ในตัวเรา” จงอย่าได้ด่วนตัดสินใจอะไรที่ไม่ดีงามต่อตัวเองโดยปราศจากการถามไถ่หรือปรึกษาคนที่รักเรา

“เราไม่ใช้ความรุนแรงเพราะความรุนแรงหยุดได้ด้วยความเมตตา ความเกลียดเอาชนะความเกลียดไม่ได้ มีแต่ความรักถึงจะชนะ ความรักจะเพิ่มขึ้นถ้าแบ่งปัน เหตุผลของความทุกข์คือการยึดติดกับวัตถุต่าง ๆ อย่าอยู่กับอดีต และอย่าเพ้อฝันถึงอนาคต จงตั้งสติของตนให้อยู่กับเหตุการณ์ในปัจจุบันเท่านั้น คนเราจึงจะเป็นอิสระจากความเจ็บปวดทั้งมวล ไม่มีไฟใดอันตรายเท่าไฟโกรธ ไม่มีสัตว์ใดอันตรายเท่าความเกลียดชัง ศัตรูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์คือตัวเรา เราจะเป็นไปตามความคิดในใจของเรา ถ้าคิดดีคนเราก็จะทําดี ถ้าคิดชั่วคนเราก็ทําชั่ว นี้คือกฎของธรรมชาติ การละทิ้งอัตตาจะทําให้เรามองเห็นความทุกข์ของตนเองและผู้อื่น การเดินสายกลางคือทางแห่งความสุข”

ทั้งหมดนี้คือ คําสอนของพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาแห่งศาสนาพุทธ ขอท่านผู้อ่านประสบแต่ความเจริญและความสุขตลอดไป