“ก่อการร้าย” สามคำ จำให้แม่น

ก่อการร้ายสามคำจำให้แม่น

การก่อการร้ายนั้นเกิดไม่เลือกคน-ไม่เลือกสถานที่-ไม่เลือกเวลา

เหตุการณ์ก่อการร้ายอย่างอุกอาจกลางเมืองท่องเที่ยวชั้นนำของโลก “นีซ” เมืองดังแห่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ฝรั่งเศส สร้างความหวาดผวาแก่ชาวฝรั่งเศส ชาวยุโรป และชาวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๐๑๖

จากนั้น ยุโรปก็ต้องตกตะลึงอย่างต่อเนื่อง กลางเดือนธันวาคม ๒๐๑๖ กับการก่อการร้ายลอกเลียนแบบ ณ ตลาดคริสต์มาสกลางกรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงแห่งประเทศเยอรมนีซึ่งเป็นบ้านที่สองที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มคนไทยในยุโรป โดยลักษณะของการประทุษร้ายคล้างคลึงกันกับเหตุที่เมืองนีซ

ล่าสุด วันที่ ๗ เมษายน ๒๐๑๗ ณ กรุงสต็อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน เกิดเหตุรถบรรทุกพุ่งชนห้างสรรพสินค้า มีคนเสียชีวิต ๓ คน บาดเจ็บอีกจำนวนไม่น้อย

นั้นเป็นการตอกย้ำว่า การก่อการร้ายนั้น “ไม่เลือกคน ไม่เลือกสถานที่ และไม่เลือกเวลา” จริงๆ

เครือข่ายหญิงไทยในยุโรปขอไว้อาลัยให้ผู้เสียชีวิตทุกท่านและขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวและญาติมิตรของพวกเขาและเธอด้วย ส่วนผู้บาดเจ็บก็ขอให้ฟื้นตัวโดยเร็วและตื่นจากฝันร้ายนี้ในเวลาอันสมควร

เครือข่ายฯขออุทิศความดีใด ๆ บทความนี้จะสร้างขึ้นด้วยการให้ความรู้ด้านการป้องกันภัยจากเหตุร้ายแก่คนไทยในทุกที่ มอบแด่ดวงวิญญาณของผู้จากไปให้ท่านไปสู่สุขคติภพ

และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะให้ความรู้อย่างกว้าง ๆเรื่องก่อการร้าย และสิ่งที่พลเรือนชาวไทยในต่างแดน ไม่เฉพาะที่ประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส สามารถช่วยกันดูและเฝ้าระวังได้ รวมทั้งรู้วิธีดูแลตัวเองและครอบครัวให้ปลอดภัยจากเหตุร้ายเช่นนี้ หรืออย่างน้อยก็รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรในกรณีที่เกิดเหตุขึ้นจริง ๆ

เนื้อความนี้แปลเรียบเรียงมาจากเว็บไซต์สองแห่งซึ่งระบุไว้ท้ายบทความนี้ เนื้อหาอาจเป็นอเมริกันไปสักหน่อย (เพราะขานั้นเป็นปรมาจารย์ด้านต่อต้านการก่อการร้าย) แต่เชื่อว่า พวกเราจะนำไปปรับใช้ได้ไม่ยากนัก

คนไทยและครอบครัวเคยเชื่อว่า ยุโรป คือ ดินแดนแห่งเสรีภาพ เสถียรภาพ และความสุขสงบมั่นคงที่ทั่วโลกต้องอิจฉา แต่บัดนี้ อะไร ๆ ก็ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน สมกับกฎของไตรลักษณ์ ยุโรปเริ่มลุกเป็นไฟ คนบริสุทธิ์ถูกสังเวยการเรียกร้องทางการเมืองและศาสนา

จึงสมควรที่เราคนไทยในต่างแดนต่างต้องดำรงชีวิตอยู่ด้วยความ “มีสติ” และด้วย “การยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม” ให้มากที่สุด

ปฏิบัติการก่อการร้ายประกอบด้วยอะไรบ้าง

  • คำขู่ว่าจะเกิดการก่อการร้าย
  • การลอบสังหาร
  • การลักพาตัว
  • การ hijack กลุ่มคนในยานพาหนะต่างๆ
  • การขู่ว่าจะวางระเบิดและการวางระเบิดจริงๆ
  • การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ เช่น cyber attacks
  • การใช้อาวุธที่เป็นสารเคมี สารพิษชีวภาพ นิวเคลียร์ และสัญญาณวิทยุ

กลุ่มเป้าหมายหลักของการก่อการร้าย

  • สถานที่ประจำการของทหารและข้าราชการพลเรือนต่างๆ
  • สนามบินนานาชาติ
  • เมืองใหญ่ ๆ
  • พื้นที่ที่เป็นที่รู้จักดีและมีคนไปมาก
  • การรวมตัวกลุ่มใหญ่ในสถานที่สาธารณะ
  • แหล่งน้ำดื่มและแหล่งอาหาร
  • แหล่งผลิตสาธารณูปโภค
  • ตึกที่ทำงานระดับยักษ์
  • วัสดุส่งทางไปรษณีย์ที่มีหีบห่อน่าสงสัยและชื่อผู้ส่งที่เราไม่รู้จัก (ระเบิด สารเคมี อาจมีการส่งโดยวิธีนี้ได้)

ลางสังหรณ์ ๗ ประการก่อนเหตุร้าย
การก่อการร้ายเป็นงานที่ต้องวางแผนอย่างรอบคอบและเป็นระบบ การเตรียมงานก็ต้องข้องเกี่ยวกับคนจำนวนหนึ่ง และงานบางอย่างอาจพลาดพลั้งไปอยู่ในสายตาของชุมชนใกล้เคียงโดยไม่ตั้งใจ เราทุกคนมีโอกาสเดินเฉี่ยวผู้ก่อการร้ายในสถานีรถไฟ สนามบิน ห้างสรรพสินค้า แต่เมื่อเราไม่เคยจับสังเกต ก็ย่อมไม่สังหรณ์ใจ

วิธีการ ๗ ข้อเพื่อจับสังเกตการเตรียมการก่อการร้าย
หน่วยงานป้องกันการก่อการร้ายของอเมริกัน ได้วิเคราะห์วิธีจับสงสัยว่าจะมีเหตุก่อการร้ายไว้ ๗ ประการดังนี้

การตรวจสอบสำรวจ ให้คอยดูว่ามีใครที่เข้ามาทำกิจกรรมเกี่ยวกับการบันทึกหรือการเฝ้าตามดูอะไรอยู่ในชุมชนของเราบ้าง การบันทึกนี้อาจจะไม่ใช่การถ่ายรูปด้วยกล้องถ่ายรูปหรือวีดีโอเท่านั้น แต่อาจเป็นการจดโน้ต การวาดผัง การเขียนแผนที่ หรือใช้กล้องส่องทางไกล

พฤติกรรมน่าสงสัย ให้ระวังคนหรือกลุ่มคนที่สอบถามอยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติการของทหาร จำนวนพลประจำการ หรือเรื่องคนอื่นๆ การสอบถามอาจจะไม่ใช่ตัวต่อตัว แต่อาจเป็นทางจดหมายหรือทางโทรศัพท์ก็ได้

ทดสอบระบบรักษาความปลอดภัย ถ้ามีคนพยายามจะประเมินความเข้มแข็งหรือจุดออกของกองกำลังรักษาความปลอดภัย หรือพยายามจำบันทึกหรือวิเคราะห์ว่าฝ่ายรักษาความปลอดภัยต้องใช้เวลาน่าแค่ไหนในการตอบโต้ ให้ท่านรีบติดต่อเจ้าหน้าที่ทางการในท้องถิ่นให้รับทราบโดยด่วน

ซื้อหาวัสดุอุปกรณ์ ให้ตื่นตัวไว้เมื่อมีคนมาซื้อหรือขโมยวัตถุระเบิด อาวุธ ลูกปืน หรืออื่นๆ ส่วนวัสดุที่อาจเป็นที่ต้องการของผู้ก่อการร้ายก็ได้แก่ยูนิฟอร์มทหาร คู่มือการบิน ตราหรือเครื่องมือสำหรับผลิดสิ่งเหล่านี้ หรือวัสดุควบคุมอื่นๆ จากประสบการณ์การระเบิดที่บอสตันมาราธอน อุปกรณ์ที่คนร้ายต้องการเป็นแค่หม้อต้มอัดความดันและพลุไฟ ซึ่งคนร้ายซื้อไปในจำนวนมาก

คนที่น่าสงสัยมาด้อมๆมองๆ แน่นอนว่า หากเราเห็นใครที่ไม่ใช่คนในพื้นที่มาด้อมๆมองๆ เราย่อมต้องสงสัยไปด้วย แต่ไม่ใช่เฉพาะคนในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังเป็นคนในที่ทำงาน ในวงการธุรกิจ หรือที่อื่นๆก็เป็นไปได้ ให้ยิ่งเพิ่มความสงสัยกับคนที่ข้ามพรมแดน หรือคนที่ลักลอบขึ้นเรือ ในช่วงที่คุณำลังเดินทาง

ซ้อมจริง ซ้อมค้าง ผู้ก่อการร้ายอาจจะซ้อมการโจมตีก่อนที่จะเริ่มทำจริง ดังนั้นขอให้ท่านตั้งข้อสงสัยคนที่เทียวไปเทียวมาในพื้นที่หนึ่งๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์แน่นอน ผู้ก่อการร้ายอาจจะกำลังกำหนดเส้นทาง หรือตรวจเวลาการให้สัญญาณไฟจราจร หรืออาจจะกำลังกิจกรรรมอะไรอย่างอื่นในทำนองนี้อยู่

กำหนดคน กำหนดตำแหน่ง ผู้ก่อการร้ายจะกำหนดตัวคนและวัสดุก่อนที่จะเริ่มดำเนินการจู่โจม หากคุณสงสัยว่ากำลังมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ขอให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจโดยทันที เพราะนี่อาจจะเป็นโอกาสสุดท้ายที่คุณจะได้ป้องกันเหตุการณ์ร้ายแรงไม่ให้เกิดขึ้น

หากมีเหตุก่อการร้ายเกิดขึ้น

  • อยู่ในความสงบ และ อดทน
  • ทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เหตุฉุกเฉินประจำท้องที่
  • ฟังวิทยุหรือโทรทัศน์เพื่อตามข่าวหรือฟังคำสั่งเพิ่มเติมจากรัฐ
  • หากมีเหตุเกิดใกล้คุณ ให้ตรวจดูว่ามีผู้บาดเจ็บมากน้อยแค่ให้ ให้การปฐมพยาบาล และช่วยนำส่งคนที่เจ็บหนัก
  • หากมีเหตุเกิดใกล้บ้านคุณระหว่างคุณอยู่บ้าน ให้ตรวจดูความเสียหายด้วยไฟฉาย อย่าจุดไม้ขีดหรือเทียนหรือเปิดสวิทช์ไฟ เช็คว่ามีไฟไหม้ตรงไหน หรือมีการหักพังอะไรบ้าง ดมกลิ่นแก้สรั่ว เช็คระบบทำน้ำร้อน
  • หากได้กลิ่นแก้สหรือสงสัยว่าจะมีแก้สรั่ว ให้ปิดวาล์วแก้สหลัก เปิดหน้าต่างและให้ทุกคนออกนอกบ้างทันที
  • ปิดอุปกรณ์สาธารณูปโภคที่เสียหายทุกตัว
  • นำสัตว์เลี้ยงมาขังไว้รวมกัน
  • โทรหาคนในครอบครัว แล้วอย่าใช้โทรศัพท์อีก ยกเว้นเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย
  • ตรวจดูเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเพื่อนบ้านสูงอายุหรือพิการ

เข้าใจและอดทนกับผลที่จะตามมา

  1. อาจมีจำนวนคนเสียชีวิตหรือบาดเจ็บมากมาย หรือมีความเสียหายต่อบ้านเรือนทรัพย์สิน ดังนั้น นายจ้างต้องกมีข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับความต้องการด้านการแพทย์และการติดต่อทายาทของลูกจ้างไว้
  2. จะมีการนำกฎหมายมาใช้อย่างเข้มงวดในบริเวณที่เกิดเหตุเนื่องจากความเป็นอาชญากรรมของเหตุการณ์
  3. แหล่งช่วยเหลือด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จะต้องทำงานอย่างหนัก และอาจรับมือไม่ไหว
  4. จะมีการเสนอข่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่า ประชาชนจะเกิดความหวาดกลัว จะมีผลกระทบในระดับสากล และผลจะคงอยู่ในระยะเวลาที่ยาวนา
  5. ที่ทำงานและโรงเรียนอาจจะถูกปิด และอาจมีข้อจำกัดเรื่องการเดินทางทั้งในและนอกประเทศ
  6. คุณและครอบครัวอาจจะต้องถูกโยกย้ายไปที่อื่น อย่าพยายามใช้ถนนเส้นที่ปิดกั้นไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของคุณ
  7. การทำความสะอาดชำระล้างความเสียหายที่เกิดขึ้นจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ

การรับมือในระดับบุคคล
ในขณะที่ภาครัฐก็ทำหน้าที่ป้องกันปราบปรามและกวาดล้างกันไป พวกเราในระดับครอบครัวล้วนสามารถช่วยเหลือตัวเองให้ปลอดภัยในการก่อการร้ายได้ หากมีการเตรียมวางแผนอย่างดี แผนสามระดับที่จะช่วยปกป้องชีวิตคุณเองและคนที่คุณรักจากการก่อการร้าย

  1. รู้จักแผนรับมือกับภัยพิบัติของหน่วยงาน โรงเรียน หรือชุมชมที่คุณอยู่อาศัย หากไม่ทาบ ให้ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบและขอทราบแผนนั้น
  2. ค้นหาโรงพยาบาลในละแวดใกล้เคียงไว้เป็นตัวเลือกด้วย เพราะเมื่อเกิดเหตุร้ายแล้ว โรงพยายาลที่ใกล้ที่สุดจะแน่นมากที่สุดและอาจจะรับเคสไม่ไหว
  3. ทบทวนขั้นตอนต่างๆในการปกป้องตัวเองและคนที่คุณรัก เตรียมเอกสารที่สำคัญ เขียนข้อมูลเกี่ยวตัวชื่อ นามสกุล ที่อยู่ กลุ่มเลือด หมายเลขบัตรประจำตัว หมายเลขประกันสังคม ประกันสุขภาพ ทำรายการสถานที่ทำงานหรือโรงเรียนหลายๆแห่งที่คุณจะไปหลบภัยได้

การก่อการร้ายในที่สาธารณะ
นักก่อการร้ายนิยมสถานที่ที่มีคนรวมอยู่มากๆ เพราะต้องการให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตมากที่สุด เพื่อจะได้สร้างให้คนสนใจในสิ่งที่พวกตนเรียกร้อง วิธีที่จะทำให้ครอบครัวของคุณปลอดภัยในสถานที่เหล่านี้ก็คือสอนเด็ก ๆ ที่พอรู้ความว่า ควรจะสังเกตความผิดปกติอะไรบ้าง

วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะสอนเด็กๆก็คือ “มองและฟัง” เช่น

  1. กระเป๋าที่มีคนมาทิ้งไว้กลางแจ้งไม่มีเจ้าของ
  2. มีคนคอยตรวจสถานที่และตรวจตามตึกต่างๆ
  3. มีคนพยายามจะเข้าไปในจุดหวงห้าม
  4. มีคนบางคนในกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ๆที่ใส่เสื้อผ้าห่อหุ้มมากผิดปกติ

การก่อการร้ายโดยใช้ระเบิด
ผู้ก่อการร้ายนิยมใช้ระเบิด การใช้ระเบิดทำให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมากในระยะสั้นและในท่จำกัด และนับเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายในแบบต่างๆ เป็นที่น่าเสียใจว่า อาวุธระเบิดถูกสร้างขึ้นมาอย่างง่ายดายเกินไป ด้วยข้อมูลวิธีประกอบที่หาได้ออนไลน์ และการหาซื้อวัสดุได้ตามสุถานที่ทั่วไป และอาวุธระเบิดเหล่านี้สามารถเคลื่อนย้ายง่าย และสามารถจุดชะนวนได้จากอีกที่หนึ่ง จึงเป็นที่นิยมของนักก่อการร้าย

หีบห่อที่น่าสงสัย
คุณจะช่วยให้ครอบครัวปลอดภัยด้วยการสังเกตว่า หีบห่อวัสดุอะไรที่น่าสงสัย เช่น วัสดุจากคนที่คุณไม่รู้จักหรือไม่คาดว่าจะได้รับ

  • ไม่มีที่อยู่ส่งคืน หรือเป็นที่อยู่ปลอม
  • มีเครื่องหมายเขียนไว้ เช่น “ส่วนตัว” “เป็นความลับ” หรือ “อย่าเอกซเรย์”
  • มีลวดหลุดออกมา หรือมีห่ออลูมิเนียมฟอยด์ มีกลิ่นแปลกๆ มีรอยเปื้อน
  • ชื่อเมืองที่อยู่ในแสตมป์บนกล่อง ไม่ตรงกับที่อยู่ของผู้ส่ง
  • มีน้ำหนักผิดปกติเมื่อดูจากขนาด หรือมีรูปห่อที่ดูประหลาด
  • มีคำเขียนข่มขู่ไว้
  • มีประทับตราที่ไม่เหมาะสมหรือผิดปกติ
  • มีจำนวนแสตมป์มากเกินไป หรือผูกมัดหีบห่อต่อเทปกาวหรือเชือกอย่างแน่นหนาเกิดปกติ
  • มีการสะกดคำธรรมดาๆ ผิด
  • จ่าหน้าถึงคนที่ไม่ได้อยู่ในที่อยู่นั้น
  • จ่าหน้าชื่อผิด หรือจ่าหน้าโดยไม่มีชื่อคน
  • ไม่ระบุว่าใครเป็นผู้รับ
  • เขียนด้วยลายมือ หรือพิมพ์ที่อยู่อย่างเลว

ขอให้ใช้ความระวังในการตรวจสอบหีบห่อเหล่านี้ และบอกเด็กๆที่พอรู้ความแล้วให้เข้าใจ เด็กๆอาจจะมีหน้าที่ต้องไปเอาจดหมายให้คุณหลังจากกลับจากโรงเรียน หรือพวกเขาอาจจะชอบเก็บกล่องของที่มีคนมาวางไวให้คุณหน้าบ้าน ดังนั้นเด็กๆ จะต้องรู้ว่าหีบห่อแบบไหนเป็นสิ่งที่น่าสงสัย แน่นอนว่า ถ้าคุณและครอบครัวสงสัยวัสดุกล่องใด คุณก็ไม่สมควรจะเปิดมัน ให้ไปไกลๆจากจุดนั้น และติดต่อเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นทันที เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะแจ้งเจ้าหน้าที่ ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ใช่อันตรายจริงๆก็ตาม

แนวทางป้องกันสำหรับระเบิด
การระเบิดส่วนมากเกิดในที่สาธารณะ คุณและครอบครัวควรรู้ว่าต้องทำตัวอย่างไรในเหตุการณ์เช่นนี้ เหมือนกับการซ้อมเหตุฉุกเฉินอื่น พ่อแม่ควรร่วมฝึกซ้อมกับเด็ก ๆ ที่โตรู้ความแล้ว และคุยกันว่าหากติดอยู่ในสถานการณ์เช่นที่ว่าหรืออยู่ใกล้ที่เกิดเหตุควรทำเช่นไร

จำไว้ว่า เป้าหมายความสร้างความเข้มแข็งให้แก่เด็ก ๆ ด้วยการให้ความรู้ ไม่ใช่ด้วยการทำให้เด็กหวาดกลัว

หากครอบครัวถูกเศษตึกจากการระเบิดถมทับ คุณควรจะทำอังนี้

  • ใช้ไฟฉายส่งให้หน่วยกู้ภัยรู้ตำแหน่งของคุณ ถ้าเป็นไปได้
  • อย่าขยับตัวโดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย การช่วยเหลือทำได้ยากขึ้น
  • ปิดจมูก ปิดปาก ด้วยผ้าหรือวัสดุที่หาได้ และหายใจผ่านผ้า ผ้าฝ้ายจะใช้การได้ดีในกรณีนี้ หรือทำให้ผ้าเปียกก่อนเอามาใช้การ เพราะจะช่วยกรองฝุ่นได้ดีขึ้น
  • เคาะท่อน้ำหรือผนังเพื่อให้หน่วยกู้ภัยได้ยินเสียงคุณ
  • ใช้นกหวีดเป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือ ถ้ามี
  • ตะโกนเป็นทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น เพราะการตะโกนอาจทำให้คุณต้องหายใจเอาฝุ่นผงที่อันตรายเข้าไป

หากครอบครัวของคุณอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุระเบิด

  • เข้าไปซ่อนใต้โต๊ะที่แข็งแรงเพื่อป้องกันสิ่งหักพังต่างๆ ตกใส่คณ เมื่อเศษจากการระเบิดหยุดร่วงหล่นแล้ว ให้หนีอออกจากที่นั้นโยทันที
  • พยายามระวังพื้นที่อาจจะเปราะบางและบันไดที่อาจจะร้าวชำรุด ให้ระวังว่าจะยังมีของตกใส่อยู่ อย่าใช้ลิฟต์
  • ทำตามแผนฉุกเฉินของครอบครัว ของที่ทำงาน หรือของโรงเรียน เมื่อได้ออกจากตัวตึกที่เกิดระเบิดแล้ว อย่ากลับไปเอาของใช้ส่วนตัวหรือพยายามโทรศัพท์หรือส่งข้อความ อย่ากลับไปที่เกิดเหตุอีก เพราะคุณอาจทำให้ทีมกู้ภัยและครอบครัวที่เหลือทำงานด้วยความเสี่ยงมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงฝูงชน ฝูงชนอาจจะกลายเป็นเป้าหมายที่สองของการก่อการร้าย
  • หลีกเลี่ยงรถยนต์หรือรถกระบะที่ไม่มีคนใช้งาน เพราะอาจจะมีระเบิดแฝงอยู่
  • อย่ายืนหน้าหน้าต่าง ประตูกระจก หรือพื้นที่เสี่ยงอันตรายอื่นใด รวมทั้งตึกที่พังทลาย ให้หนีไปให้ห่างอย่างน้อยหนึ่งร้อยเมตรจากตึกที่ถูกระเบิด และอยู่ให้ห่างทางเดินเท้าหรือถนนที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยหรือคนที่อยู่ในตึกยังจะต้องใช้สัญจรออกมา
  • ทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ รวมทั้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานดับเพลิง เจ้าหน้าที่ช่วยชีวิต นายทหาร เจ้าหน้าที่จากโรงเรียน และหัวหน้าในสถานที่ทำงาน
  • โทรเรียกตำรวจสายด่วนตามเบอร์ในประเทศของท่านเพื่อแจ้งว่าท่านปลอดภัยแล้ว
  • ช่วยคนอื่นที่บาดเจ็บและต้องการความช่วยเหลือให้ออกไปจากพื้นที่อันตรายหากว่าคุณสามารถทำได้ ถ้าคุณเห็นคนบาดเจ็บสาหัส ให้ไปขอความช่วยเหลือ อย่าพยายามจัดการกับสถานการณ์โดยลำพัง
  • รับฟังวิทยุและโทรทัศน์เพื่อติดตามข่าวและคำสั่งเพิ่มเติมจากภาคราชการ

พ่อแม่ลูกรวมใจกันเป็นหนึ่งเดียว
โดยทั่วไป การสื่อสารระหว่างพ่อแม่และลูกเป็นสิ่งสำคัญเหนืออื่นใดในการวางแผนความปลอดภัยของครอบครัว และสร้างให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นบวกหลังจากการโจมตีโดยผู้ก่อการร้ายผ่านไป ครอบครัวจะรับมือกับการก่อการ้ายได้ดีว่า หากพ่อแม่ลูกได้มีการพูดถึงเหตุจำลองและแผนรับมือไว้ก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังจากเกิดเหตุ เพื่อทำให้ทุกคนไม่ตกอยู่ในความหวาดผวามากเกินควร และ จำไว้ว่าเด็กๆควรมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างแผนรับมือและทำชุดกู้ชีพฉุกเฉินด้วย เด็กแต่ละคนอาจจะได้รับหน้าที่ให้ไปหาของที่จะใช้ในชุดกู้ชีพมาคนละชิ้นสองชิ้น เพื่อให้พวกเขามีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการรับมือกับเหตุฉุกเฉิน

ท้ายที่สุด ขอให้รู้ว่าเด็กๆจะอ่อนไหวต่ออารมณ์และปฏิกิริยาของพ่อแม่ หากพ่อแม่ใช้น้ำเสียงที่เข้มแข็งในช่วงการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ เด็กๆก็จะทำตามอย่างมั่นใจ แต่ถ้าพ่อแม่เต็มไปด้วยความกังวลกับการเตรียมการสารพัดอย่างเพื่อรับกับเหตุการณ์ ก็ขอให้ศึกษาข้อแนะนำโดยทั่วไปในการเตรียมการณ์ดังต่อไปนี้

  • รู้ตัวเสมอว่าคุณอยู่ในสถานที่ใด สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร
  • ให้ออกจากสถานที่นั้นหากคุณรู้สึกไม่สบายใจ หรือมีสัญชาติญาณว่ามีอะไรบางอย่างไม่ถูกต้อง
  • ใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง
  • ให้สงสัยในพฤติกรรมใดๆที่ดูผิดปกติ
  • อย่ารับหีบห่อของจากคนแปลกหน้า
  • อย่าทิ้งกระเป๋าของคุณไว้ให้คลาดสายตา
  • รายงานเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยรักษาความปลอดภัยถึงพฤติกรรมที่น่าสงสัยโดยทันที หรือเมื่อเห็นหีบห่อนที่ผิดปกติ หรือเครื่องมือที่มีหน้าตาประหลาด.
  • รู้ว่าทางออกฉุกเฉินอยู่ตรงไหนในตึกที่คุณต้องเข้าไปธุระบ่อยๆ (หรือไปทำงาน) วางแผนที่จะใช้ทางออกฉุกฉินเมื่อเกิดเหตุขึ้น
  • เตรียมพร้อมที่จะอยู่โดยไม่มีไฟฟ้า ไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีแก้ส ไม่มีปั๊มน้ำ เครื่องกดเงิน หรืออินเตอร์เน็ต
    • วิทยุพกพาพร้อมแบตตารีเต็มและสำรอง
    • ไฟฉายหลายๆดวงและแบตตารีสำรอง
    • ชุดปฐมพยาบาลและคู่มือใช้การ
    • หมวกแข็ง และหน้ากากกันฝุ่น
    • เทปเรืองแสงเพื่อใช้กาแสดงพื้นที่อันตรายถ้าคุณอาศัยหรือทำงานในตึกขนาดใหญ่ ขอให้ปรึกษากับเจ้าของหรือผู้จัดการตึก ให้จัดให้มีสิ่งของเหล่านี้ในแต่ละชั้น

เป็นที่น่าเศร้าใจว่า มีการก่อการร้ายเกิดขึ้นมากมาย แม้ในสถานที่ที่เราไม่คาดคิด และก็จะยังคงมีการก่อการร้ายทำลายขวัญประชาชนกันต่อไป ตราบเท่าที่โลกเรานี้ยังไม่เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ประเทศผู้นำทั้งหลายต่างก็คิดหาวิธีป้องกันและพยากรณ์การก่อการร้ายแบบต่างๆและก็ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ แต่การเตรียมพร้อมก็ต้องเริ่มจากระดับบุคคลเท่านั้น

ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ การเตรียมครอบครัวของคุณให้พร้อม และตระหนักอยู้เสมอว่าเหตุการณ์ร้ายอาจเกิดขึ้นเมื่อไร ที่ไหน หรือกับใครก็ได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.safety.com/p/family-safety-terrorist-attacks/
www.redcross.org/prepare/disaster/terrorismPhoto credit:
www.gettyimages.de/ereignis/reignis/