รายงานปี 2565
- วันที่ 18 มกราคม 2565: ประชุมความร่วมมือกับอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองแผนงานและยุทธศาสตร์ และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ณ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กทม (ผู้แทน – ประธานจงเจริญ สมาชิกเครือข่ายฯ – ณัฐ จ้อยจุฬี)
- วันที่ 24 มกราคม 2565: โครงการนำร่องความร่วมมือด้านการเสริมสร้างการใช้ชีวิตของสตรีและครอบครัวในระดับพื้นที่ ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว จังหวัดเชียงราย การดูงานในพื้นที่เชียงรายร่วมกับอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ และข้าราชการ สค พม (ผู้แทน – ประธานจงเจริญ สมาชิกเครือข่ายฯ – ณัฐ จ้อยจุฬี เพื่อนเครือข่าย – วิจิตรา ม่วงนาค คูลเทอร์)
- วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565: ประชุมออนไลน์ “การนำเสนอความก้าวหน้าการจัดทำ (ร่าง) เอกสารรายงานผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นต่อประเด็นเกี่ยวข้องกับโครงการแนวทางการเตรียมความพร้อมหญิงไทยในการย้ายถิ่นไปต่างประเทศ ครั้งที่สอง โดย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และศูนย์ชุมชนอีสานศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ร่วมงาน…คน (ผู้แทน – ประธานจงเจริญ และ นงลักษณ์ ใจสงฆ์ เทร็พพ์)
- วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565: ประชุมหารือร่วมกับอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เรื่ององค์กรสาธารณประโยชน์และ อพม. ในต่างประเทศ ณ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กทม. ณ ห้องประชุมกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว บ้านราชวิถี ผู้เข้าร่วมในสถานที่จำนวน 14 คน ผู้เข้าร่วมทางซูม 25 คน (ผู้แทน – ประธานจงเจริญ และ ณัฐ จ้อยจุฬี ผ่องศรี สุวรรณ์ และสมาชิกเครือข่ายฯอีก 17 คนทางซูม)
- วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565: ให้สัมภาษณ์ทำคลิปเพื่อประกอบรายงานภายใต้โครงการ “การจัดทำ (ร่าง) เอกสารรายงานผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นต่อประเด็นเกี่ยวข้องกับโครงการแนวทางการเตรียมความพร้อมหญิงไทยในการย้ายถิ่นไปต่างประเทศ ครั้งที่สอง” ณ ห้องประชุมกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ผู้แทน – ประธานจงเจริญ)
- วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565: ประชุมหารือกรอบโครงการศึกษาและสัมมนาเรื่องหม้ายเดียวดาย ไม่โดยเดี่ยว เพื่อเสนอต่อกองทุนสวัสดิการสังคม ร่วมกับฝ่ายวิชาการของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้ร่วมประชุม 5 คน (ผู้แทน – ประธานจงเจริญ)
- วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565: ร่วมเวทีรับฟังการนำเสนอและให้ความคิดเห็นต่อ ‘(ร่าง) พ.ร.บ. การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ…..’ จัดโดยกรมการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวนองค์กรที่ลงทะเบียนเข้าร่วม 96 หน่วยงาน ผู้เข้าร่วมทางซูม 96 ผู้ใช้งาน (ผู้แทน – ประธานจงเจริญ)
- วันที่ 5 มีนาคม 2565 : ประธานเครือข่ายฯร่วมรายการไลฟ์ “จิบกาแฟชวนคุย” หัวข้อ “ชีวิตที่มีหลายบ้าน…อะไรคือจุดเกาะเกี่ยว” จัดโดย ทีมงานจิบกาแฟชวนคุย ผู้เข้ารับฟังออนไลน์ 57 คน (ผู้แทน – ประธานจงเจริญ)
- วันที่ 8-9 มีนาคม 2565 : ร่วมประชุมออนไลน์ “การจัดทำข้อเสนองานสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ (Transnational Social work Practice) ภายใต้การบริหารงานในรูปแบบองค์กรเสมือนจริง “Visual Organization” นำเสนอโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภุชงค์ เสนานุช คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโดย กองพัฒนามาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๑) เพื่อจัดทำข้อเสนอเพื่อวางระบบการบริหารจัดการองค์กรเสมือนจริงเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ (ศส.ตปท.ควรอยู่ในภารกิจกรมใด/ที่ไหนเป็นหลัก) (๒) เพื่อจัดทำข้อเสนอระดับกรม/เทียบเท่ากรมในการกำหนดให้มีโครงสร้างงาน/บุคลากร/ภารกิจเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศของทุกกรม (๓) เพื่อเสริมพลังความเข้มแข็งเครือข่ายคนไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะการทำความร่วมมือและพัฒนาหลักสูตรสังคมสงเคราะห์กับ มจร.เพื่อยกระดับเครือข่ายพระธรรมทูต/พระสงฆ์ที่จบด้านสังคมสงเคราะห์ของ มจร.เป็นเครือข่ายช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ (๔) เพื่อพัฒนาคู่มือ/ชุดองค์ความรู้เพื่อจัดบริการช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ – ผู้เข้าร่วมทางซูมจำนวน 87 ผู้ใช้งาน (ผู้แทน – ประธานจงเจริญ)
- วันที่ 8 มีนาคม 2565: ร่วมประชุมออนไลน์ International Women Day จัดโดย กลุ่มสตรีสากลภาคพื้นยุโรป (International Thai Women in Europe) ดำเนินรายการโดย ทีมจิบกาแฟชวนคุย – จำนวนผู้เข้าร่วมทางซูม 78 ผู้ใช้งาน (ผู้แทน – ประธานจงเจริญ และ สมาชิกเครือข่ายฯ 8 คน)
- วันที่ 2 เมษายน 2565: รองประธานพินทุสร ร่วมพูดคุยใน ในหัวข้อ “โรงเรียนชีวิตของฉัน” ในรายการ “จิบกาแฟชวนคุย” ดำเนินรายการโดย กรชวัล ทูรเซ่น และทีมงาน ผู้รับฟังออนไลน์ …. คน (ผู้แทน – รองประธานพินทุสร)
- วันที่ 20 เมษายน2565 : การประชุมออนไลน์ Focus Group เพื่อถอดบทเรียนการทำงานของเครือข่ายหญิงไทยในต่างประเทศ จัดโดย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สค. พม. (ผู้แทน – ประธานจงเจริญ)
- วันที่ 27 เมษายน 2565: การประชุมออนไลน์เพื่อศึกษาระบบการช่วยเหลือหญิงไทยในต่างประเทศ “ถอดบทเรีนการดำเนินงานของเครือข่ายหญิงไทยในภูมิภาคยุโรป” ครั้งที่หนึ่ง จัดโดย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ร่วมกับ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เข้าร่วม….คน (ผู้แทน – ประธานจงเจริญ รองประธานพินทุสร เหรัญญิกอนุรักษ์ รองประธานจรรยา ภาคี – ปนัดดา ชั่งมณี สมาชิก – ธมนพัชร์ คูปไรเดอร์ กุลยา ฮูนดอร์ฟ)
- วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 : ประชุมภายในกรรมการบริหารเครือข่ายฯ ทางซูม
- วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 : ประชุมทางซูม (1) เตรียมการสัมมนาประจำปี 2022 ทางซูม และ (2) เตรียมหัวข้อการเสวนาเครือข่ายฯหลังยุคโควิด
- วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 : เข้าพบ นางสาวชญานิษฐ์ ประเสริฐผล กงสุลใหญ่ประจำกรุงปารีส และเจ้าหน้าที่ประสานงาน สอท สองท่าน เพื่อแนะนำเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป และยื่นเอกสาร “โครงการส่งเสริมศักยภาพและสร้างกลไกการทำงานของอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือหญิงไทยและคนไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติที่ตกอยู่ในสภาวะหม้ายหรือภาวะโดดเดี่ยวไร้ที่พึ่ง (Alone…but not Lonely!) ให้ทาง สอท ลงความเห็นต่อโครงการฯ และส่งต่อให้กับกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามช่องทางที่กำหนดโดยระเบียบกองทุนส่งเสริมสวัสดิการสังคม พม (ผู้แทน – ประธานจงเจริญ และ ตัวแทนภาคี พจณี เรอโนซ์)
- วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 : การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565/2022 ณ กรุงลูบลิยานา สาธารณรัฐสโลวีเนีย – เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารเครือข่ายฯสำหรับวาระ ปี ค.ศ. 2022-2025 รายนามผู้ได้รับเลือก คือ นางจรรยา แซ่เจียง (อิตาลี) ตำแหน่งประธาน นางพินทุสร แอนซ์ตี้ (ยูเค) ตำแหน่งรองประธานคนที่หนึ่ง นายอนุรักษ์ วีระเดชะ (อิตาลี) ตำแหน่งรองประธานคนที่สอง นางทวีพร บรันทด์ (เยอรมนี) ตำแหน่งเลขานุการ และ นางกุลยา ฮูนดอร์ฟ (เยอรมนี) ตำแหน่งเหรัญญิก คณะอนุกรรมการเลือกตั้งประกอบด้วย นางนงลักษณ์ ใจสงฆ์ เทร็พพ์ (สวิตเซอร์แลนด์) นางประไพรัตน์ มิกซ์ (เยอรมนี) และ นางน้ำทิพย์ เสน่หา ฟิโชต์ (ฝรั่งเศส) การเลือกตั้งใช้วิธีลงคะแนนเสียงล่วงหน้าทั้งหมด โดยมีผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งหมด 65 คน
- วันที่ 21 พฤษภาคม 2565 : การสัมมนาประจำปี 2565/2022 หัวข้อ “หม้ายเดียวดาย…ไม่โดดเดี่ยว” (Alone…but not Lonely!) ณ กรุงลูบลิยานา สาธารณรัฐสโลวีเนีย ผู้เข้าร่วม 56 คน จาก 10 ประเทศ (ประเทศไทย สโลวีเนีย ออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ สหราชอาณาจักร เบลเยียม)
- วันที่ 23 พฤษภาคม 2565: การประชุมเรื่องที่อยู่อาศัยในโปรแกรมต้อนรับผู้อพยพย้ายถิ่น เมืองตูริน สาธารณรัฐอิตาลี (ผู้แทนเครือข่ายฯ – ประธานจรรยา)
- วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 : การประชุมพบปะองค์กรสาธารณประโยชน์ ครั้งที่ 1 (ออนไลน์) โดย สำนักงานส่งเสริมการจัดสวัสดิการแห่งชาติ (ก.ส.ค.) (ผู้แทนเครือข่ายฯ – ประธานจรรยา)
- วันที่ 1 มิถุนายน 2565: ประชุมซูมกับ สค พม เพื่อแนะนำประธานเครือข่ายฯคนใหม่ (ผู้เข้าร่วม – จงเจริญ จรรยา และ สนทรียา)
- วันที่ 6-12 มิถุนายน 2565 : โครงการ “พี่สอนน้อง ดีด สี ตี เป่า” โดย ชมรมวัฒนธรรมไทยในตรีเวเนโต (อิตาลี) ร่วมกับสมาคมกระต่ายสามตัว พาร์แดร์บอน (เยอรมนี) ณ นครเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี (ผู้เข้าร่วม….คน) โดยการสนับสนุนของเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป (ผู้แทนเครือข่ายฯ – ประธานจรรยา)
- วันที่ 18 มิถุนายน 2565 : การประชุมซูมเพื่อวางแผนประชุมปฏิบัติการโครงการนำร่องการเตรียมตัวคนไทยย้ายถิ่นแบบเจาะประเทศ) โดยกลุ่มส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (ประธานจรรยา จงเจริญ)
- วันที่ 21 มิถุนายน 2565 : ประชุมทางซูมชี้แจงรายละเอียดโครงการ “โครงการส่งเสริมศักยภาพและสร้างกลไกการทำงานของอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือหญิงไทยและคนไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติที่ตกอยู่ในสภาวะหม้ายหรือภาวะโดดเดี่ยวไร้ที่พึ่ง” (Alone…but not Lonely!) กับคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง กองทุนส่งเสริมสวัสดิการสังคม พม (ผู้ชี้แจง – จงเจริญ ศรแก้ว)
- วันที่ 25 มิถุนายน 2565 : ตัวแทนเครือข่ายหญิงไทยในยุโรปและภาคีจำนวน 9 คน ร่วมประชุมเพื่อหารือแนวทางการทำงานร่วมกันให้เกิดการช่วยเหลือคนไทยและหญิงไทยในต่างแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กับนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และคณะ รมว 12 คน ประกอบด้วย (1) นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2) นาง พัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (3) นาวาตรีสุธรรม ระหงส์ เลขานุการรัฐมนตรี (4) นางสาวรุ่งณภา สีทะ นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ (5) นางสาวศศิพิมพ์ อร่ามพิบูลกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ (6) นางสาว ธนารีย์รัฐ ชูฤทธิ์ นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ (7) นางสาว นริศา อดิเทพวรพันธุ์ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (8) นายบุญยอด สุขถิ่นไทย คณะทำงาน รมว พม (9) นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (10) ดร.ชยงการ ภมรมาศ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (11) นายโชคชัย สิงหเพชร ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและพัฒนานวัตกรรมเพื่อที่อยู่อาศัย (12) นางสาว อังคณา วิชิต พนักงานวิเคราะห์นโยบายและแผน การเคหะแห่งชาติ) ณ ห้องประชุมโรงแรม Paris Marriott Charles de Gaulle Airport มหานครปารีส พร้อมกันนี้ รมว พม ได้มอบประกาศนีบัตรอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ อพม กิตติมศักดิ์ในต่างประเทศ และแต่งตั้งชาวคณะเครือข่ายฯที่ร่วมประชุมเป็น Thailand Community Ambassador ได้แก่ จงเจริญ ศรแก้ว กริมสมันน์ หัวหน้าคณะเครือข่ายฯ (ฝรั่งเศส) นุชนารถ วรรณขาว ตัวแทนสมาชิกในอิตาลี (มิลาน อิตาลี) ทวีพร บรันทด์ ตัวแทนคณะกรรมการบริหาร (เยอรมนี) ประคอง เชียร์ฮอร์น สมาชิก (ฮัมบวร์ก เยอรมนี) น้ำทิพย์ เสน่หา ประธานสมาคมไทย-โพรวองซ์ สปันนา แต่งพงษ์ สมาชิก และ แคทเธอรีน แสงระวี บาลู สมาชิก (Association Thai-Provence, มาร์แซย์ ฝรั่งเศส) พจณี เรอโนซ์ รองประธาน HelpThai (ปารีส ฝรั่งเศส) และ นฎา ชลวานิชย์ ตัวแทน Au Pair (แวร์ซายล์ส ฝรั่งเศส) ในการนี้ จงเจริญ และ ทวีพร ได้มอบหนังสือสารสตรีฉบับปี 2022 และเข็มกลัด TWNE จำนวน 6 ชุด ให้กับคณะ รมว (โปรดคลิกเพื่อชมข่าวและภาพ (1) ข่าวสารภายในของ พม (2) ข่าวหนังสือพิมพ์สยามรัฐ (3) ข่าวหนังสือพิมพ์ SHIN Siam (4) ข่าวหนังสือพิมพ์ BKBToday)
- วันที่ 29 มิถุนายน 2565: การประชุมเชิงปฏิบัติการ “สร้างความสำเร็จในการย้ายถิ่นไปประเทศอิตาลีตั้งแต่ “ก่อน” ก้าวแรก” จัดโดย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พม และ เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป มีผู้เข้าร่วมในสถานที่ 40 คน (วิทยากร – ประธานจรรยา สมาชิก – อรวลี ด่านสถาปนพงศ์) และผู้เข้าร่วมออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นซูม 22 คน (จากเครือข่ายฯ – จงเจริญ ศรแก้ว/ฝรั่งเศส รจรินทร์ มะโฮงคำ/กรีซ ทวีพร บรันดท์/เยอรมนี สีวลี มีนา/สวีเดน และ สหะ สาระพันธ์/เนเธอร์แลนด์)
- วันที่ 30 มิถุนายน 2565: การประชุมรายงานสถานการณ์หญิงไทยในยุโรป และหารือแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป ณ ห้องรับรอง ชั้น 12 กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว โดยนางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ได้ให้การต้อนรับ นางสาวจรรยา แซ่เจียง ประธานเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป และคณะ ในการเข้าเยี่ยมและรายงานสถานการณ์หญิงไทยในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสริมพลังสตรีที่ย้ายถิ่นในยุโรป และหารือแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกับเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป โดยมี นางสาวกรรณนิกา เจริญลักษณ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ นางสาวสิริวรรณ เย็นตั้ง ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ((โปรดคลิกเพื่อดูข้อข่าวต้นฉบับ และภาพจากการประชุม)
- วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 : การประชุมโครงการเสริมสร้างเครือข่ายคนไทยในสเปน ณ กรุงมาดริด (ประธานจรรยา ณพิชญ์ธิดา)
- วันที่ 15 กรกฎาคม 2565 : ประชุมภายใน (ซูม) คณะกรรมการบริหารครั้งที่หนึ่ง เพื่อถ่ายทอดงานและกำหนดบทบาท (ประธาน/จรรยา รองประธาน/พินทสุร รองประธาน/อนุรักษ์ เหรัญญิก/กุลยา ฮูนดอร์ฟ อดีตประธาน/จงเจริญ)
- วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 : การสัมมนาผลงานวิจัย “ประเทศไทยและการให้การดูแลในระดับโลก: การแต่งงาน ความสูงวัย และการเคลื่อนย้าย” ที่จัดโดย ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย ร่วมกับกลุ่มวิจัย “งาน การดูแล และความสัมพันธ์ใกล้ชิด: คนไทยในบริบทข้ามแดน” คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ณ ห้องประชุมคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ชั้น 4 อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (สมาชิกที่เข้าร่วมในสถานที่ – ณัฐ จ้อยจุฬี/อิตาลี นุชนารถ วรรณขาว/อิตาลี) และ facebook live ทางเพจ tusocant (สมาชิกที่เข้ารับฟังออนไลน์ – เสริมศรี บุญสุตม์/เนเธอร์แลนด์/ไทย รองประธานพินทุสร แอนซ์ตี/ยูเค จงเจริญ ศรแก้ว/ฝรั่งเศส สวลี มีนา/สวีเดน อรวลี ด่านสถาปนพงศ์/เดนมาร์ก จิระพร เผือกหลวง/ฟินแลนด์ พยุงศรี กุลวงศ์/เยอรมนี) >> ชมย้อนหลัง คลิกที่นี่
- วันที่ 2-3 กันยายน 2565 : ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะสำหรับโมเดลการให้ช่วยเหลือ (Workshop to draw lessons-learned and formulate recommendations) ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จัดโดย เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป และสมาคมบ้านหญิงเบอร์ลิน เยอรมนี โดยการสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน และ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กิจกรรมภายใต้ โครงการส่งเสริมศักยภาพและสร้างกลไกการทำงานของอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือหญิงไทยและคนไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติในยุโรปที่ตกอยู่ในสภาวะหม้ายหรือภาวะโดดเดี่ยวไร้ที่พึ่ง (Alone…but not Lonely!)” จำนวนผู้เข้าร่วม 26 คน >> โปรดคลิกเพื่อชมชุดภาพจากการประชุม
- วันที่ 24-25 กันยายน 2565 : ประชุมคณะทำงานร่างคู่มือโมเดลการช่วยเหลือ (Alone…but not Lonely Support Model Handbook for practitioners) ณ เมืองคาแซร์ต้าสาธารณรัฐอิตาลี ณ เมืองคาแซร์ต้า สาธารณรัฐอิตาลี โดย เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป และ กลุ่มมิตรภาพไทย-นาโปลี โดยการสนับสนุนของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กิจกรรมภายใต้ โครงการส่งเสริมศักยภาพและสร้างกลไกการทำงานของอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือหญิงไทยและคนไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติในยุโรปที่ตกอยู่ในสภาวะหม้ายหรือภาวะโดดเดี่ยวไร้ที่พึ่ง (Alone…but not Lonely!)” ผู้เข้าร่วม 10 คน >> โปรดคลิกเพื่อชมชุดภาพจากการประชุม
- วันที่ 11 ตุลาคม 2565 : ประชุมออนไลน์เพื่อนำเสนอโมเดลการช่วยเหลือ (Alone…but not Lonely Support Model Handbook for practitioners) ของประเทศเยอรมนี และ ประเทศอิตาลี (กิจกรรมภายใต้ โครงการส่งเสริมศักยภาพและสร้างกลไกการทำงานของอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือหญิงไทยและคนไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติในยุโรปที่ตกอยู่ในสภาวะหม้ายหรือภาวะโดดเดี่ยวไร้ที่พึ่ง (Alone…but not Lonely!)” – ผู้เข้าร่วม…คน >> โปรดคลิกชมย้อนหลัง : (1) คลิปโมเดลเยอรมนี (2) คลิปโมเดลอิตาลี และ (3) คลิปอภิปราย)
- วันที่ 30 ตุลาคม 2565 : เสวนาออนไลน์ “Topic: ผู้หญิงเสวนา ถอดบทเรียน romance scams ชายหลอกให้รักผ่านโลกออนไลน์แล้วกักขัง ซ้อม ทรมานหญิงจนตาย สังคมควรเรียนรู้อะไรบ้างจากรณีนี้ รัฐจะมีนโยบายในการป้องกันและคุ้มครองอย่างไร” จัดโดย มูลนิธิเพื่อนหญิงและกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พม (ผู้เข้าร่วมทั้งหมด 15 คน สมาชิกเครือข่ายฯ – เสริมศรี บุญสุตม์/เนเธอร์แลนด์-ไทย พยุงศรี กุลวงศ์/เยอรมนี ณัฐ จ้อยจุฬี/อิตาลี สุมาลี ศรวิชัย/สวิตเซอร์แลนด์ อรวลี ด่านสถาปนพงศ์/ไทย-เดนมาร์ก และ จงเจริญ ศรแก้ว/ฝรั่งเศส-ไทย
- วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 : การประชุมออนไลน์อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค พม.) และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนวทางการจัดประชุมเชิงปฎิบัติการร่วมกับภาคีเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือหญิงไทยและคนไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติในยุโรปที่ตกสภาวะหม้ายหรือโดดเดี่ยวไร้ที่พึ่ง (Alone….but not lonely) – จำนวนผู้เข้าร่วม 7 คน / ผู้แทนจากเครือข่ายฯ – นางจงเจริญ ศรแก้ว กริมสมันน์ >> โปรดคลิกเพื่อดูภาพข่าวเพิ่มเติม
- วันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 : สัมภาษณ์รายการจิบกาแฟชวนคุยผ่านไลฟ์ “การช่วยเหลือหม้าย (สามีเสียชีวิต) ของอาสาสมัคร และโมเดลของเยอรมัน” โดย พยุงศรี กุลวงศ์
- วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 : การเสวนาโต๊ะกลม “กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตหญิงไทยในต่างแดน และ คลีนิคกงสุล 2565” โดย องค์กรโอเอซิส-เบลเยียม และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัซเซลส์ (ผู้เข้าร่วมออนไลน์ 45 คน / สมาชิกเครือข่ายฯ – จรรยา แซ่เจียง พินทุนสร แอนซ์ตี รจรินทร์ มะโฮงคำ มนัสนันท์ ครูซ จงเจริญ ศรแก้ว)
- วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565: สัมภาษณ์รายการ “จิบกาแฟชวนคุย” ผ่านไลฟ์ “หม้ายเดียวดาย…ไม่โดดเดี่ยว – บทเรียนจากเบอร์ลิน” โดย จงเจริญ ศรแก้ว (คลิปให้สัมภาษณ์คลิกที่นี่)
- วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 : ประชุมหารือการดำเนินงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครให้คำปรึกษาแก่หญิงไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ เพื่อช่วยเหลือหญิงไทยที่อยู่ในสภาวะหม้ายหรือภาวะโดดเดี่ยวไร้ที่พึ่ง (Alone…but not Lonely!) ณ ห้องประชุมชั้นสาม บ้านราชวิถี กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ผู้เข้าร่วม 13 คน
- วันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม 2565: การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครให้คำปรึกษาแก่หญิงไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ เพือช่วยเหลือหญิงไทยที่อยู่ในสภาวะหมายหรือภาวะโดดเดี่ยวไร้ที่พึ่ง (Alone…but not Lonely!” โดย เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป และ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ณ โรงแรมบางกอกมิดทาวน์ ผู้เข้าร่วมในสถานที่ 30 คน ผู้เข้าร่วมผ่านแอพพลิเคชั่นซูม 13 คน (กก บห: ประธานจรรยา รองประธานพินทุสร เลขาทวีพร / สมาชิกเครือข่าย: จงเจริญ ศรแก้ว หทัยพร ทอร์เวินด์ สุมาลี ศรวิชัย ประไพรัตน์ มิกซ์ เสริมศรี บุญสุตม์ โสพิศ ทับทิม อรวลี ด่านสถาปนพงศ์ นฎา ชลวาณิชย์)
- วันที่ 8 ธันวาคม 2565: การประชุมเรื่อง Fundraising โดยวิทยากร David Fagerlie จัดโดยมูลนิธิคนอังกฤษโพ้นทะเลเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ในประเทศไทย ณ ห้องประชุมสนามกอล์ฟยิมคาน่า เชียงใหม่ (ผู้เข้าร่วม 19 คน / จากเครือข่าย: จงเจริญ ศรแก้ว)
- วันที่ 14 ธันวาคม 2565: การหารือวิธีบริหารเคสรายกรณี (Case Management Conference) (ผ่าน Zoom Meeting) จัดโดย ศูนย์ส่งเสริมและประสานงานคนไทยในต่างประเทศ (ศส. ตปท.) กระทรางการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ผู้เข้าร่วม 9 คน / จากเครือข่ายฯ 2 คน – พินทุสร และ จงเจริญ)
- วันที่ 16 ธันวาคม 2565: การประชุมกรรมการบริหาร ร่วมกับกรรมการประเทศและผู้ประสานงานประเทศของเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป (ผ่าน Zoom Meeting) ประจำปี พ.ศ. 2565
- วันที่ 17 ธันวาคม 2565: การสนทนาแบบปฏิบัติการหญิงไทยเพื่อหญิงไทย (ผ่าน Zoom Meeting) หัวข้อ “อาสาสมัครช่วยแม่หม้ายไทยในสวิตเซอร์แลนด์ให้ก้าวต่อ” (Alone…but not Lonely! Swiss Model) จัดโดย สมคมหญิงไทยเพื่อหญิงไทยในสวิตเซอร์แลนด์ วิทยากร จงเจริญ ศรแก้ว กริมสมันน์) หัวหน้าโครงการหม้ายเดียวดายไม่โดดเดี่ยว ดำเนินรายการ โดย กุหลาบ ไทรโพธิ์ภู่ทประธานสมาคมหญิงไทยเพื่อหญิงไทย (ผู้เข้าร่วม 27 คน / เป็นสมาชิกเครือข่าย 15 คน – นงลักษณ์ เสริมศรี จรรยา ทวีพร พินทุสร หทัยพร กรชวัล ภัทธีรา สุมาลี อรวลี อุไรวรรณ มนัสนันท์ รจรินทร์ จงเจริญ)
- วันที่ 20 ธันวาคม 2565: การเสวนาวิชาการเพื่อพัฒนางานอาสาสมัคร ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) ในหัวข้อ “สถานการณ์อาสาสมัครไทยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ผู้ร่วมเวทีเสวนาประกอบด้วย (1) พระวินย์ สิริวทฒฺโน เมฆไตรรัตน์ (เลขานุการกลุ่มเสขิยธรรม/คณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานองค์กรอาสาสมัครแห่งชาติ) (2) คุณสุกัญญา เศษขุนทด (นักวิชาการอิสระ) (3) คุณณัฐวิคม พันธุวงศ์ภักดี (อาจารย์วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์) ดำเนินรายการโดย (4) คุณญาตา ระตีพูน นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ จำนวนผู้เข้าร่วม 61 คน (จากเครือข่ายฯ / อรวลี ด่านสถาปนพงศ์ จงเจริญ ศรแก้ว จรรยา แซ่เจียง วันทนา โรเช่ต์)
- วันที่ 21 ธันวาคม 2565: การประชุมออนไลน์ทีมผู้เชี่ยวชาญ “สันติสนทนา” ประเด็น “กระบวนการพัฒนาจิตอาสาเพื่อยกระดับการให้บริการโดยพุทธสันติวิธี” พระคุณท่านเจ้าคุณอาจารย์พระเมธีวชิโรดม (ท่าน ว. วชิรเมธี) แสดงปาฐกถาธรรม เรื่อง “จิตอาสาพุทธสันติวิธี” และมีผู้ทรงความรู้ด้านการให้บริการ การพัฒนาจิตอาสาร่วมเป็นวิทยากร จัดโดย มจร. (จากเครือข่ายฯ/ จงเจริญ ศรแก้ว)
ผลงานประชาสัมพันธ์
ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
เพจเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป (Page)
- ผู้ติดตามเพจ (Likes) 7523 คน เพจที่ติดตามซึ่งกันและกัน 52 เพจ (Mutual) เพจที่ติดตามฝ่ายเดียว 67 เพจ (Following)
- กลุ่ม “เราคือจิตอาสา We are Jit-Arsa” มีสมาชิก 1233 คน
- กลุ่ม “การงานอาชีพของหญิงไทยในยุโรป” มีสมาชิก 438 คน
- กลุ่ม “อย่าลืมชาวนาเขตถ้ำหลวง” มีสมาชิก 132 คน
เว็บไซต์ (Website)
- สมาชิกเว็บไซต์ จำนวน 255 Subscribers และ 28 หน่วยงาน
- บทความที่ตีพิมพ์ ทั้งหมด 168 บทความ เฉพาะในปี 2565 มี 12 บทความ
- บทความที่ได้รับการเปิดอ่านในระดับ ดี (Good) มี 27 บทความ
- บทความที่ไม่มีคนสนใจ (Need improvements) 13 บทความ
- บทความที่ได้รับความสนใจปานกลาง (OK) 31 บทความ
- จัดทำโครงการ “โครงการการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้ายุคดิจิตัลของชุมชนไทยในยุโรป” โดยการสนับสนุนจากกองทุนสวัสดิการสังคมของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ โครงการดำเนินงานระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 และมีผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เครือข่ายฯได้จัดส่งรายงานสรุปโครงการและรายงานการเงินให้ทางกองทุนฯเรียบร้อย โดยมีค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมด 77,000 บาท (เจ็ดหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน)
สื่ออื่นๆ
- ช่องยูทู้บ TWNE เพื่อรองรับผลงานของเครือข่ายฯและสมาชิก มีคลิปทั้งหมด 28 คลิป และมีผู้สมัครรับข่าวสาร (subscribers) จำนวน 462 คน
- ทวิตเตอร์ @TWNE17 เป็นช่องทางเพื่อแชร์ข่าวสารจากเว็บไซต์ของเครือข่ายฯ และเพื่อติดตามข่าวสารทั่วยุโรปที่จะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก
- แผ่นพับแนะนำเครือข่ายฯภาษาไทย
- แผ่นพับแนะนำเครือข่ายฯภาษาอังกฤษ
- จดหมายข่าวเว็บไซต์รายเดือน เดือนมกราคม เดือนกุมภาพันธ์ เดือนมีนาคม เดือนสิงหาคม เดือนกันยายน เดือนตุลาคม