สวัสดิการหม้ายและกำพร้า สมาพันธรัฐสวิส



Cover photo credit: https://www.centerforasecureretirement.com/posts/who-qualifies-for-a-widows-pension

(คำศัพท์แนบเป็นภาษาทางการของสมาพันธรัฐสวิส เยอรมัน/ ฝรั่งเศส/ อิตาเลียน/ และโรมันช์)​​​​​​​1
​​​​ ​​
สวัสดิการสถานะหม้ายและกำพร้า ของสมาพันธรัฐสวิส
Hinterlassenenrente/ rentes de survivants/ rendita per superstiti/ renta per survivents
ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 (ค.ศ. 2024)

สวัสดิการสถานะหม้ายสวิส
Witwenrente, Witwerrente/ rente de veuve, rente de veuf/ rendita per vedovi, rendita per vedove/ renta per survivents (vaivas u. vaiva)

สมาพันธรัฐสวิสมีสวัสดิการสถานะหม้ายให้ทั้ง หม้ายหญิง และ หม้ายชาย
คู่สมรส (จดทะเบียนสมรส)Ehefrau, Ehemann / conjoints/ coniuge/ dunna u voss คู่ครองลงทะเบียน eingetragene Partnerschaft/ partenaire enregistré/ partner registrato/ partenaria registrada เพศเดียวกัน รวมถึงที่ หย่าขาด หรือ ถอนทะเบียนคู่ครองแล้ว มีสิทธิ์ยื่นขอรับสวัสดิการหม้ายได้ตามเงื่อนไข ทั้งนี้เพื่อมิให้ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่มีปัญหาทางการเงิน

เงินสวัสดิการหม้ายและบุตรกำพร้ามาจาก
หลักที่หนึ่ง​​จากกองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ (เสาหลักที่ 1) AHV 1e Säule / AVS 1er pilier / cassa AVS/ AVS
หลักที่สอง​บริษัทหรือสถาบันเงินสะสมจากการทำงาน รวมเงินสะสมเพิ่มตามสมัครใจ (เสาหลักที่ 2 ) Pensionskasse/ caisse de pensions/ cassa pensioni/ cassa da pensiun

เมื่อใดจะมีสิทธิ์รับเงินสวัสดิการหม้าย

ผู้ถึงแก่กรรมจ่ายเบี้ยสวัสดิการบังคับมาอย่างน้อยหนึ่งปีเต็ม (เช่น ส่วนที่หักไว้จากเงินเดือน) หรือ ผู้ถึงแก่กรรมมีประกันและคู่สมรสจ่ายเบี้ยสวัสดิการสองเท่าของจำนวนบังคับ หรือ ผู้ถึงแก่กรรมมีสิทธิ์รับเงินชดเชยการดูแลบุตรหรือเงินชดเชยการพยาบาลดูแลผู้อื่น

1 หม้ายสมรสหญิง​ได้รับสวัสดิการหม้ายเมื่อ
– มีบุตร รวมบุตรของผู้ถึงแก่กรรมที่พำนักด้วยและบุตรอุปถัมภ์ของผู้ถึงแก่กรรมหรือของคู่สมรส (เด็กที่รับเลี้ยงไว้โดยตั้งใจหรือกำลังดำเนินการรับเป็นบุตรบุญธรรม) และหม้ายหญิงจะรับเป็นบุตรบุญธรรม
– ผู้ถึงแก่กรรมมีบุตรตามกฎหมายที่เกิดระหว่างการสมรส (คู่หญิง+หญิง) หรือระหว่างการจดทะเบียนคู่ครอง (คู่หญิง+หญิง) และบุตรเหล่านี้มีสิทธิ์รับสวัสดิการบุตรกำพร้า
– อายุเกิน 45 ปี
– อายุครบ 45 ปี อายุการสมรสเกิน 5 ปี (นับรวมทุกครั้งที่ทำการสมรส กรณีสมรสคู่เพศหญิง นับรวมปีที่ลงทะเบียนคู่ครองด้วยได้ถ้ามีหลักฐานพอเพียง)

2 หม้ายหย่าหญิง**
– ถ้าหย่าเมื่อสมรสมานานกว่า 10 ปี และมีบุตรร่วมกับผู้ถึงแก่กรรม
– หรือ หย่าเมื่ออายุเกิน 45 ปีแล้วและสมรสมานานอย่างน้อย 10 ปี
– หรือ บุตรคนสุดท้องอายุน้อยกว่า 18 ปีเมื่อหม้ายหย่าหญิงอายุครบ 45 ปีแล้ว ถ้าไม่มีคุณสมบัติเบื้องต้นนี้ จะมีสิทธิ์รับสวัสดิการหม้ายจนบุตรคนสุดท้องอายุครบ 18 ปี**บุตรของผู้ถึงแก่กรรมหญิงที่เกิดถูกต้องตามกฎหมายในสมรสของคู่หญิง ถือเป็นบุตรของหม้ายหย่าหญิงด้วย**

3 หม้ายสมรสชาย​มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการหม้ายเมื่อ​​​​​​​​​2
– มีบุตร รวมบุตรของผู้ถึงแก่กรรมที่พำนักอยู่ด้วยกัน และบุตรอุปถัมภ์ของผู้ถึงแก่กรรม (เด็กที่รับเลี้ยงไว้โดยตั้งใจหรือกำลังดำเนินการรับเป็นบุตรบุญธรรม) ที่หม้ายชายจะรับเป็นบุตรบุญธรรม และบุตรเหล่านี้มีสิทธิ์รับสวัสดิการบุตรกำพร้า (จากคำพิพากษาของศาลยุโรปลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) จนถึงการสมรสใหม่หรือถึงแก่กรรม)

4 หม้ายหย่าชาย​มีสิทธิ์รับสวัสดิการหม้ายหย่าชายถึงบุตรอายุครบ 18 ปี

*****5 หม้ายลงทะเบียนคู่ครองเพศเดียวกันทั้งคู่หญิงและคู่ชายมีสิทธิเช่นเดียวกับหม้ายหย่าชาย​​​2

เงินสวัสดิการจากหลักที่หนึ่ง​​ต่ำสุด 980 ​สูงสุด 1960​ฟรังก์สวิส/เดือน
ทางการใช้ระบบคำนวนระบบเดียวกับการคำนวนเงินสวัสดิการผู้สูงอายุ คือจากระยะเวลาทำงานทั้งหมด (สูงสุด 44 ปี)
+ ถ้าได้รับสวัสดิการพิการหรือสวัสดิการผู้สูงอายุ Invalidenrente, Altersrente/ rente de vieillesse, rente d’invalidité/ rente de vieillesse/ rendita d’invalidità, rente di vecchiaia แล้ว จะเพิ่มเงินสวัสดิการผู้สูงอายุอีก 20% ของจำนวนเงินสวัสดิการผู้สูงอายุที่ได้รับอยู่ รวมแล้วต้องไม่เกินกำหนดสูงสุด
+ เงินชดเชยการดูแลเลี้ยงดูบุตร Erziehungsgutschrift/ tâches éducatives/ compiti educativi/ bunificaziuns d’educaziun
+ เงินชดเชยการดูแลพยาบาลผู้อื่น Betreuungsgutschrift/ tâches d’assistance/ compiti assistenziali/ bunificaziuns da tgira
+ เพิ่มประเมินค่าประกอบอาชีพถ้าถึงแก่กรรมก่อนอายุ 45 ปี
+ ถ้ามีสิทธิ์ได้รับเงินสวัสดิการหม้าย/เงินสวัสดิการผู้สูงอายุ rendita di vecchiaia/ rente หรือเงินสวัสดิการผู้พิการ rendita d’invalidità ในขณะเดียวกัน จะได้รับแต่สวัสดิการที่มีจำนวนสูงที่สุดเท่านั้น
• ถ้าผู้ถึงแก่กรรมจ่ายเบี้ยสวัสดิการสูงอายุตั้งแต่อายุครบ 20 ปีจนถึงมรณกรรม ผู้รับเงินสวัสดิการหม้ายจะได้รับสวัสดิการเต็ม Vollrente/ rente complète/ rendita completa/ renta cumplaina หรือได้รับสวัสดิการเพียงส่วนหนึ่งถ้าจ่ายไม่ครบ Teilrente/ rente partielle/ rendita parziale/ renta parziala

+เงินสวัสดิการหม้ายจากหลักที่สอง
กฎหมายไม่บังคับบริษัทหรือสถาบันเงินสะสมให้จ่ายสวัสดิการหม้าย ดังนั้นบริษัทหรือสถาบันมักจ่าย สวัสดิการคู่ชีวิต Partnerrente/ rentre pour partenaire/ rendita per conviventi/ rendita da partentas โดยคำนวณ 40% ของจำนวนเงินสวัสดิการผู้สูงอายุของผู้ถึงแก่กรรม (โดยประมาณถ้าถึงแก่กรรมก่อนอายุรับสวัสดิการ) หรือ 40% ของสวัสดิการพิการ หรือ 2/3 ของเงินสวัสดิการผู้สูงอายุของผู้ถึงแก่กรรม สถาบันเงินสะสมอาจมีนโยบายจ่ายเงินทำขวัญจำนวนหนึ่งเพียงครั้งเดียวก็ได้ บางสถาบันมีนโยบายจ่าย สวัสดิการคู่ชีวิต ที่มิได้มีการลงทะเบียนใดๆเช่นกัน
​​​​
การหมดสิทธิ์รับเงินสวัสดิการหม้าย
– เมื่อจดทะเบียนสมรสหรือลงทะเบียนคู่ครองใหม่

สวัสดิการบุตรกำพร้า​​​​​
Waisenrente/ rente d’orphelin/ rendita per orfani/ renta per orfens

จากหลักที่ 1​บุตรในไส้และบุตรบุญธรรมตามกฎหมายมีสิทธิ์รับสวัสดิการบุตรกำพร้า จนอายุครบ 18 ปี หรือจนจบการศึกษา ถึงอายุครบ 25 ปี เป็นจำนวน 40% ของเงินสวัสดิการผู้สูงอายุของผู้ถีงแก่กรรม ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
– ถ้าบิดา หรือ มารดาถึงแก่กรรม (รวมมารดาถึงแก่กรรมที่คลอดบุตรระหว่างการสมรสเพศเดียวกัน)
ได้รับ ต่ำสุด 490 สูงสุด 980 ฟรังก์สวิส/เดือน
– ถ้าทั้งบิดา และ มารดาถึงแก่กรรม เท่ากับจะได้รับสองเท่า แต่ไม่เกิน 1,470/เดือน
– ส่วนบุตรอุปถัมภ์ (บิดาหรือมารดาหรือทั้งสองคน อยู่ระหว่างดำเนินการรับเป็นบุตรบุญธรรม) อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์พิเศษ
– บุตรที่มีรายได้ของตนเองระหว่างการศึกษามากกว่า 29,400 ฟรังก์สวิสต่อปี ไม่มีสิทธิ์รับเงินบุตรกำพร้า
จากหลักที่สอง​บุตรได้รับสวัสดิการบุตรกำพร้าจนถึงอายุ 18 ปีหรือถึงจบการศึกษาแต่ไม่เกินอายุ 25 ปี​​​​​3
เงินเพิ่มเติม​​​​​
ผู้รับสวัสดิการที่ตกอยู่ในสถานะวิกฤติทางการเงินมีสิทธิ์ขอรับ สวัสดิการเพิ่ม (Ergänzungsleistungen/ rente supplémentaire/ rendita supplementare/ renta supplementare) ได้ตามกฎเกณฑ์ของทางการ ผู้รับเงินสวัสดิการที่พำนักอาศัยอยู่นอกสมาพันธรัฐสวิสไม่มีสิทธิ์ขอเงินเพิ่มเติม

ภาษีมรดก
ยกเว้นหม้ายสมรส หม้ายคู่ครองลงทะเบียน บุตร ***สำหรับคู่ชีวิต (ไม่จดทะเบียน ไม่ลงทะเบียน) นั้นขึ้นอยู่กับกฎหมายภาษีมรดกของรัฐที่อยู่อาศัย

การวางแผนชีวิตเตรียมตัวรับสถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆนั้นสำคัญอย่างยิ่ง และควรค้นหาข้อมูลต่อไปนี้​​​
– เมื่อหย่ากับผู้ถึงแก่กรรมก่อนแล้ว ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินหม้ายหรือไม่
– จำนวนเงินสวัสดิการหม้ายจากทุกแหล่งสูงเท่าไหร่ พอเพียงหรือไม่
– ระยะเวลาที่จะได้รับเงิน
– อายุครบกำหนดรับสวัสดิการผู้สูงอายุหรือรับจากสวัสดิการคนพิการแล้ว ยังมีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการหม้ายอีกหรือไม่​
– คู่ครองลงทะเบียน คู่ร่วมชีวิต (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่ได้ลงทะเบียนว่าเป็นคู่ครอง ใช้ชีวิตร่วมกันโดยไม่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย) มีสิทธิ์ขอเงินสวัสดิการหม้ายหรือไม่
***โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่ครองเพศเดียวกัน และ คู่ชีวิตที่อยู่ร่วมกันโดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ นั้น จะพบว่า เงินสวัสดิการหม้าย (หรือ/และเงินสวัสดิการอื่นๆ) ที่จะได้รับนั้น ไม่เพียงพอให้ความมั่นคงทางการเงินได้เท่าที่ควร ดังนั้นทุกคนจึงควรเตรียมตัวรับวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยการ
– ปรึกษาหารือ วางแผนร่วมกันศึกษาการยกทรัพย์สินให้กันและกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
– จัดระบบค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน จัดระบบเงินสะสมเพิ่มเติม เข่น เปิดบัญชีเงินสะสมพิเศษ เก็บออมส่วนตัว ลงทุน ประกันชีวิต
เป็นต้น ถือได้ว่าเป็น หลักที่สาม ที่จะช่วยให้ชีวิตหม้าย/กำพร้าดำเนินไปอย่างราบรื่นทางการเงิน

การยื่นคำร้องขอรับสวัสดิการ
– ที่สำนักงานสวัสดิการผู้สูงอายุและสถานะหม้ายหรือกำพร้าของผู้ถึงแก่กรรม หรือสำนักงานของรัฐหรือสาขา
– ถ้าเกี่ยวเนื่องถึงประเทศใน EU/ EFTA แจ้งที่ประเทศที่ทำงานล่าสุด
– ถ้าพำนักอยู่นอกสมาพันธรัฐสวิส ค้นหารายละเอียดได้ที่ www.zas.admin.ch (เลือกภาษาได้)
– สอบถามขอข้อมูลจากสำนักงานสวัสดิการผู้สูงอายุ สำนักงานสวัสดิการผู้พิการ และบริษัทเงินสะสม
– ขอแบบคำร้องได้ที่ไปรษณีย์ทุกแห่ง หรือจากอินเตอร์เน็ต internet
– www.ahv-iv.ch (เลือกภาษาได้)
– www.ch.ch (เลือกภาษาได้)

น.จ.ท. คัด แปล และเรียบเรียง 14 มีนาคม พ.ศ. 2567 ค.ศ. 2024 (สงวนลิขสิทธิ์)

Message us