รายงานปี 2566

วันที่ 22-26 มกราคม 2566: ประธานจรรยา แซ่เจียงและสมาชิกจากอิตาลีคุณนุชนารถ วรรณขาว ลงพื้นที่เมือง Puerto de la Cruz เกาะ Tenerife ประเทศสเปนพบปะประธานสมาคมไทยในหมู่เกาะคานารี คุณณพิชญ์ธิดา ทวีรัตน์ชัยโชติและสมาชิกสเปน คุณอ๋อย โพธิพรหม เพื่อเยี่ยมชมและศึกษาสถานที่จัดการประชุมสามัญและสัมมนาประจำปี 2566/2023 

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566: ประชุมหารือสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือหญิงไทยผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน (เคสประเทศเยอรมนี) โดยนางณัฐสุรีย์ อนุศาสนันท์ ในฐานะ ผอ.ศส.ตปท.ประชุมหารือสหวิชาชีพประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานในสังกัด พม อาธิเช่น สค.พส.พก.กต. ศุนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 พมจ อุบลราชธานี เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป (จรรยา แซ่เจียง / พินทุสร แอนซ์ตี / กุลยา ฮุนดอร์ฟ / จงเจริญ ศรแก้ว ) แลแะ อพม.ในสหราชอาณาจักร

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566: ประชุมระดมสมองเตรียมการสัมมนา งานต่างถิ่น สินต่างแดน

ผู้เข้าร่วมจรรยา (อิตาลี) มนัสนันท์ (สโลวีเนีย) จุฑาทิพย์ และชูชีพ (เบลเยี่ยม) มิตร (ฟินแลนด์) อลิสาและสิรินทรา (สวีเดน) รจรินทร์ (กรีซ) เพ็ญพร (สวิตเซอร์แลนด์) จงเจริญ (ไทย) พินทุสร (ยูเค) นุชนารถ (อิตาลี) สุมาลี (สวิตเซอร์แลนด์) พจณี (ฝรั่งเศส) อนุรักษ์ (อิตาลี) วันทนา (ฝรั่งเศส) ทวีพร และ นันทวัน (เยอรมนี) สหะ (เนเธอร์แลนด์) พัทธ์ธีรา (ออสเตรีย) กรชวัล (นอร์เวย์) 

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 : เครือข่ายฯเข้าร่วมรับฟังการบรรยายภายใต้โครงการส่งเสริมศักยภาพองค์กรสาธารณประโยชน์ในต่างประเทศ ครั้งที่ ๑ ในหัวข้อ “การรับมือกับภาวะวิกฤตของผู้จัดบริการสวัสดิการสังคม” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meeting) เพื่อให้ผู้จัดบริการสวัสดิการสังคมในองค์กรสาธารณประโยชน์ในต่างประเทศสามารถจัดการกับสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการ และมีแนวทางในการจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ผู้เข้าร่วมออนไลน์ 40 คน (เครือข่ายฯ / จงเจริญ ศรแก้ว ชนกกมล โพธิ์ศรี จรรยา แซ่เจียง พัทธ์ธีรา เจนเซ่น ทัศนา จันทรศร ณัฐ จ้อยจุฬี วณิชศรี ตรีกโกเน็น โสพิศ ทับทิม พจณี เรอโนซ์ สุนิตา ฉัตรแก้ว บัคคูว์)

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566: ประชุมซูมโครงการวิจัยแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในต่างประเทศ (๑) เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการทำงานและพัฒนาแนวทางการส่งเสริม อพม ในต่างประเทศ ให้ตอบสนองสถานการณ์และความต้องการของคนไทยในต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาสู่คู่มือการทำงาน และ (๒) เพื่อส่งเสริมให้คนไทยในต่างประเทศเป็น อพม. ในการเป็นกลไกการขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มคนไทยในต่างประเทศตามบทบาทภารกิจของ กระทรวง พม (กรณีศึกษา – ประเทศมาเลเซีย และประเทศเยอรมนี) นำเสนอโดย ทีมงานวิจัยที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (เครือข่ายฯ / จรรยา แซ่เจียง จงเจริญ ศรแก้ว พัทธ์ธีรา เจนเซน)

วันที่ 1 มีนาคม 2566: โครงการส่งเสริมศักยภาพและสร้างกลไกการทำงานของอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือหญิงไทยและคนไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติในยุโรปที่ตกอยู่ในสภาวะหม้ายหรือภาวะโดดเดี่ยวไร้ที่พึ่ง (Alone… but not loneley) ได้รับคัดเลือกเป็น “โครงการที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2565” จากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

วันที่ 29 มีนาคม 2566: รองประธาน พินทุสร แอนซ์ตีและนุชนารถ วรรณขาวเข้าร่วมประชุมนำเสนอกรอบแนวคิดและวิพากษ์งานสังคมสงเคราะห์ไซเบอร์ ณ ห้องประชุมโป๊ยเซียนอาคารกระทรวง พม.

วันที่ 6 เมษายน 2566: ประชุมคณะ กกบห ทบทวนรายงานบัญชี

วันที่ 21 เมษายน 2566: ประชุมปรึกษางานระหว่าง กกบห กับ ทีมเจ้าภาพเตเนริเฟ 

วันที่ 22 เมษายน 2566: ไฟล์สารสตรีเสร็จสมบูรณ์พร้อมตีพิมพ์

วันที่ 16 พฤษภาคม 2566: การประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มคนไทยในต่างประเทศ ครั้งที่ 1/2566 ผ่านซูมมีตติ้ง (ประธานจรรยา)

วันที่ 28 พฤษภาคม 2566: การประชุมตรวจบัญชีเครือข่ายฯ (พยุงศรี สหะ กุลยา จรรยา จงเจริญ)

วันที่ 3 มิถุนายน 2566: โครงการนำร่อง ออกบูทในงาน Thai Cultural Evening 2023 เมือง Cheltenham สหราชอาณาจักร จัดโดย กลุ่มคริสเตียนไทย West Midlands เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ไทย ผู้ร่วมเข้างาน 130 คนให้ความรู้ (นาตาลี สตอรีย์ และ สุธิษา เคียเรนส์ และ พินทุสร แอนซ์ตี)

วันที่ 7 มิถุนายน 2566: ผู้แทนเครือข่ายให้การต้อนรับคณะดูงานของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ณ กรุงเบอร์ลิน (พยุงศรี กุลวงศ์)

วันที่ 9 มิถุนายน 2566: การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566/2023 ของเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป ณ เตเนรีเฟ หมู่เกาะคานารี สาธารณรัฐสเปน

วันที่ 10 มิถุนายน 2566: การสัมมนาประจำปี 2566/2023 ของเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป ในหัวข้อ “งานต่างถิ่น สินต่างแดน (Migration of Career and Hope)” ณ เตเนรีเฟ หมู่เกาะคานารี สาธารณรัฐสเปน

วันที่ 12 มิถุนายน 2566: ผู้แทนเครือข่ายฯให้การต้อนรับคณะดูงานของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ณ นครซูริก (สุมาลี ศรวิชัย)

วันที่ 19 มิถุนายน 2566: ร่วมต้อนรับนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และคณะจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและรับหน้าที่แปลให้องค์การยูนิเซฟไทยแลนด์ จำนวน 10 คน ที่เดินทางมาดูงานที่อิตาลีเพื่อร่วมการปฐมนิเทศด้านอาชีพของนักเรียน นวัตกรรมด้านการศึกษา และการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสายอาชีพ การวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ และข้อมูลเชิงสถิติของเด็กที่ด้อยการศึกษา ไม่มีงานทำ และไม่ได้รับการฝึกอาชีพ (NEET – No Education, No Employment, No Training) ในทวีปยุโรป และความคล้ายคลึงระหว่าง NEET ในอิตาลีกับประเทศไทย (ผู้แปล – จรรยา แซ่เจียง)

วันที่ 27 มิถุนายน 2566: ภาคีเครือข่ายฯ โครงการ HelpThai โดย นายทิมโมที พรหมพันธ์ แอนเดอร์สัน ผู้อำนวยการ และ นางสาวภาวิกา อินทรทัต รองผู้อำนวยการ เข้าพบอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว นางจินตนา จันทร์บำรุง และทีมข้าราชการ พม เพื่อหารือเรื่องการทำงานช่วยเหลือสตรี เด็กและครอบครัวยากไร้

วันที่ 3 กรกฎาคม 2566: ประชุมออนไลน์หารือแนวทางการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตหญิงไทยที่ประกอบอาชีพผู้ดูแล (Caregivers) ในบริบทสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (ต่อมาได้แก้ไขเป็น “ในบริบทยุโรป”) ร่วมกับผู้แทนจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และ ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว รัตนาภาจังหวัดขอนแก่น (ผู้แทนเครือข่ายฯ – ประธาน เลขานุการ เหรัญญิก)

วันที่ 8-9 สิงหาคม 2566: เลขานุการเครือข่ายฯ นางทวีพร บรันดท์ ร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตหญิงไทย “บันไดขั้นแรกสู่ความสำเร็จ อาชีพผู้ดูแล (Caregivers) ในบริบทของภูมิภาคยุโรป” ที่จัดโดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ อวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ และทางซูมมีตติ้ง (ผู้แทนเครือข่ายฯ – ทวีพร บรันดท์ และ จรรยา แซ่เจียง / สมาชิก – จงเจริญ/ฝรั่งเศส ประไพรัตน์/เยอรมนี มนัสนันท์/สโลวีเนีย อรวลี/เดนมาร์ก พินทุสร/ยูเค นันทพร/สวีเดน ณัฐ/อิตาลี พัทธ์ธีรา/ออสเตรีย)

วันที่ 23 สิงหาคม 2566: เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป ทีมฝรั่งเศส เข้าพบเอกอัครราชทูตไทยและคณะข้าราชการทูต เพื่อแนะนำการทำงานของสมาคมไทยโพรวองซ์ โครงการ Help Thai และเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป และปรึกษาแนวทางการทำงานร่วมกันอย่างสอดประสานเชิงเครือข่ายเพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไทยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสและในยุโรป คณะทูต 1. นายธนา เวสโกสิทธิ์ : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม 2. นายบุญญฤทธิ์ วิเชียรพันธุ์ : อัครราชทูต 3. นางสาวชญานิษฐ์ ประเสริฐผล : เลขานุการเอก (รับผิดชอบงานด้านกงสุล) คณะเครือข่ายฯ 1. น้ำทิพย์ เสน่หา ฟิโชต์ 2. สมศรี บล็องชาร์ด 3. สุนิตา ฉัตรแก้ว บัคคู 4. พจณี เรอโนซ์ 5. วันทนา โรเช่ต์ 6. จงเจริญ ศรแก้ว กริมสมันน์

วันที่ 5 -8 กันยายน 2566: เครือข่ายฯพบปะสมาชิก ณ มหานครลอนดอน – นางพินทุสร แอนซ์ตี รองประธานเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป นางสุธิษา เคียแร็นส์ ผู้ประสานงานประเทศ รวมทั้งทีมจิตอาสาจากยูเคอีก 2 ท่าน ได้แก่ น.ส. มาริสา พวงประยงค์ และ น.ส. พิมพ์พรรณ สิทธิสระ ได้มีโอกาสต้อนรับ นางชูชีพ ฉิมสัญชาติ และ น.ส.จุฑาทิพย์ ตาฬุมาศสวัสดิ์ จากภาคีโอเอซิส (เบลเยียม)

วันที่ 14 กันยายน 2566: ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม “พุทธสันติวิธีกับการพัฒนาภาวะผู้นำสตรีจิตอาสา” ณ ห้องประชาบดี ชั้น 19 อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ผู้แทน – ประธานจรรยา / เปรมลดา พัตพรประดิษฐ์) และผ่านระบบ Zoom Meeting (จงเจริญ ศรแก้ว / สีวลี มีนา)

วันที่ 14 กันยายน 2566):  ร่วมการประชุมหารือทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาในต่างประเทศ จำนวน 2 เคส จัดโดยศูนย์ส่งเสริมและประสานงานคนไทยในต่างประเทศ (ศส. ตปท.) กระทรวง พม ในสถานที่ (ประธานจรรยา) และผ่านผ่านระบบ Zoom Meeting (รองประธานพินทุสร / จงเจริญ / พยุงศรี)

วันที่ 20 กันยายน 2566: ร่วม (๑) ประชุมเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ของวัดไทย พระสงฆ์ไทย และหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ (๒) ประชุมทีมสหวิชาชีพข้ามประเทศ (กรณีวัดไทยถูกฉ้อโกง) ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทีมอัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และทีมกระทรวง พม. ผ่านระบบ Zoom Meeting (ผู้แทน – ประธานจรรยา / จงเจริญ)

วันที่ 26 กันยายน 2566: ร่วมประชุมทีมสหวิชาชีพข้ามประเทศ (กรณีหญิงไทยถูกกดขี่แรงงานในอาฟริกา) ร่วมกับทีมงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  ผ่านระบบ Zoom Meeting (ผู้แทน – ประธานจรรยา / จงเจริญ)

วันที่ 21-22 ธันวาคม 2566: ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ การส่งเสริมศักยภาพของอาสาสมัครที่ทำงานช่วยเหลือหญิงไทยในครอบครัวหลากวัฒนธรรม พื้นที่หัวหิน จัดโดย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ณ โรงแรมซิตี้บีชรีสอร์ต หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ (วิทยากร – จงเจริญ / ธมนภัช ผู้เข้าร่วมจากเครือข่ายฯ – เสริมศรี / นงลักษณ์ / โสพิศ / สหะ


ผลงานประชาสัมพันธ์

ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2566

เพจเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป (Page)

  1. ผู้ติดตามเพจ (Followers) 8210 คน
  2. กลุ่ม “เราคือจิตอาสา We are Jit-Arsa” มีสมาชิก 1271 คน
  3. กลุ่ม “การงานอาชีพของหญิงไทยในยุโรป” มีสมาชิก 495 คน
  4. กลุ่ม “อย่าลืมชาวนาเขตถ้ำหลวง” มีสมาชิก 131 คน
  5. กลุ่ม “ความรู้คู่หม้ายคนไทยในยุโรป” มีสมาชิก 159 คน

เว็บไซต์ (Website)

  • สมาชิกเว็บไซต์ จำนวน 255 Subscribers และ 28 หน่วยงาน
  • บทความที่ตีพิมพ์ ทั้งหมด 179 บทความ เฉพาะในปี 2566 มี 6 บทความ
  • บทความที่ได้รับการเปิดอ่านในระดับ ดี (Good) มี 27 บทความ
  • บทความที่ได้รับความสนใจปานกลาง (OK) 31 บทความ
  • บทความที่ไม่มีคนสนใจ (Need improvements) 13 บทความ
  • จัดทำโครงการ “โครงการการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้ายุคดิจิตัลของชุมชนไทยในยุโรป” โดยการสนับสนุนจากกองทุนสวัสดิการสังคมของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ โครงการดำเนินงานระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 และมีผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เครือข่ายฯได้จัดส่งรายงานสรุปโครงการและรายงานการเงินให้ทางกองทุนฯเรียบร้อย โดยมีค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมด 77,000 บาท (เจ็ดหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน)

สื่ออื่นๆ