ป้องกันการละเมิดเด็กทางเพศออนไลน์

สรุปการบรรยาย

การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กบนอินเทอร์เน็ต
(Online Child Sexual Exploitation: OCSE)

โดย นางสาวศิขริน สิงห์สาคร (หมู)

เพื่อสมาชิกเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป (TWNE) และผู้สนใจ
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2563
จำนวนผู้เข้าร่วม 24 คน

การสื่อสารของมนุษย์

  1. จิตรกรรมบนผนังถ้ำ
  2. พิราบส่งสาร
  3. มาราธอน
  4. เฮลิโอกราฟ
  5. กระดาษ
  6. หนังสือพิมพ์
  7. รหัสมอร์ส
  8. โทรศัพท์
  9. วิทยุโทรเลข
  10. ARPANET
  11. WWW.
  12. AIM Messenger
  13. Blog
  14. Facebook

ความแตกต่างของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารแต่ละยุคสมัย
• เชื่อมวิถีการดำเนินชีวิตทั่วโลก
• เปลี่ยนสมดุลอำนาจออฟไลน์
• ไม่เปิดเผยตัวตน
• เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
• การสื่อสารที่โต้ตอบได้
• มีผู้ให้บริการกลาง
• คลังข้อมูลระยะยาว
• ไฮเปอร์ลิงก์
• มีระยะเวลาเก็บข้อมูลจราจร
• มัลติมีเดียสื่อผสม
• เผยแพร่ซ้ำ

การสนทนาผ่าน Social Media ของคนไทย

2016 อัตราการใช้ 56% จำนวนข้อความ 2.5 พันล้าน
2017 อัตราการใช้ 67% จำนวนข้อความ 3.6 พันล้าน
2018 อัตราการใช้ 74% จำนวนข้อความ 5.3 พันล้าน
2019 อัตราการใช้ 74% จำนวนข้อความ 7.2 พันล้าน

10 websites ที่คนไทยใช้งานมากที่สุด

  1. Google.com หมวดหมู่ Search Engines
  2. Facebook.com หมวดหมู่ Social Networks and Online Communities
  3. Youtube.com หมวดหมู่ TV Movies and Streaming
  4. Twitter.com หมวดหมู่ Social Networks and Online Communities
  5. Google.co.th หมวดหมู่ Search Engines
  6. Xnxx.com หมวดหมู่ Adult
  7. Xvideos.com หมวดหมู่ Adult
  8. Shoppee.co.th หมวดหมู่ Marketplace
  9. Pantip.com หมวดหมู่ Computers Electronics and Technology
  10. Pornhub.com หมวดหมู่ Adult

แนวโน้มของภัยคุกคามทั่วโลก
• มีการส่งต่อ เผยแพร่สื่อลามกเด็กเพิ่มขึ้นมากผ่าน peer-to-peer (P2P) file-sharing platforms และ Darknet
• การใช้ cloud-based services และโทรศัพท์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
• การเพิ่มขึ้นของ live streaming of child sexual abuse
• การเพิ่มขึ้นของ sexual extortion และการผลิตภาพ/วีดีโอของตนเอง (“sexting”)
• การล่วงละเมิดเด็กที่อายุน้อยมากๆ โดยเฉพาะเด็กทารกและเด็กก่อนเข้าสู่วัยรุ่น
• การใช้ virtual currency Bitcoins ในการซื้อสื่กลามกเด็ก

ข้อมูลจากบริษัท Microsoft นำเสนอที่จาการ์ต้า เมื่อต้นปี 2561
• ทุกๆ 60 วินาที มีการขายและส่งต่อภาพลามกเด็กประมาณ 500 ภาพ
• ในแต่ละวัน มีภาพได้รับการอัพโหลดและส่งต่อกัน 1.8 พันล้านภาพ
• ฉะนั้น การที่จะเฝ้าระวังการอัพโหลดภาพลามกเด็กเป็นงานหนักมาก

คำศัพท์น่ารู้
• Electronic
• IT
• Digital
• Online
• Internet
• Cyber
• WWW
• URL
• Server
• P2P

คำศัพท์น่ารู้
• Facebook จากยุคการแชร์เรื่องราวของ Friend & Family มาเป็น Group and Community
• Instagram คือ Photo Sharing Platform
• Twitter คือ Interest Network
• YouTube คือ Content Library
• Tiktok คือ Short Video Platform
• Line Official Account คือ No.1 CRM (Customer Relationship Management)

คำศัพท์น่ารู้
• Content Provider
• ISPs
• ESPs
• Pedophile หรือกลุ่มคนใคร่เด็ก

สำหรับการวินิจฉัยโรคใคร่เด็กได้วางเกณฑ์ไว้ คือ
• ความผิดปกติในการมีจินตนาการ พฤติกรรมหรือความอยากที่เร้าความตื่นตัวทางเพศและชอบทำกิจกรรมทางเพศที่เกี่ยวข้องกับเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ (โดยทั่วไปอายุ 13 ปีหรืออ่อนกว่า) เป็นเวลา 6 เดือนหรือมากกว่านั้น และ
• การมีจินตนาการ พฤติกรรม หรือความอยากในการทำการเกี่ยวเนื่องกับแรงกระตุ้นทางเพศเหล่านี้ ทำให้เกิดความเดือดร้อนหรือความยากลำบากในการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
• บุคคลผู้นั้นต้องมีอายุ 16 ปีหรือมากกว่า และมีอายุมากกว่าเด็กที่ตน จินตนาการถึงอย่างน้อย 5 ปี

ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)
ได้ศึกษาพัฒนาการทางจริยธรรมตาม พบว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์นั้นมิได้บรรลุจุดสมบูรณ์เมื่อบุคคลอายุได้ 10 ปี

ก่อนมีจริยธรรมหรือก่อนกฎเกณฑ์สังคม

  • การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง
  • กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน3

จริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม

  • ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับ “เด็กดี” (10 – 15 ปี)
  • กฎและระเบียบ รู้บทบาทหน้าที่ (13-16 ปี)

ระดับวิจารณญาน

  • สัญญาสังคมหรือหลักการตามคำมั่นสัญญา ประโยชน์ส่วนรวม
  • หลักการคุณธรรมสากล ตัดสินใจกระทำโดยยอมรับความคิดที่เป็นสากล

เจ็ดขั้นตอนของการ Grooming

  1. เลือกเหยื่อ
     ไม่มีผู้ดูแล
     เร่ร่อน
     กำพร้า
     ขาดความอบอุ่น
  2. สร้างความไว้วางใจ
     ให้ความสนใจ
     ดูแลเป็นพิเศษ
     ให้ของ
     เป็นเพื่อนเล่นฯ
  3. มีบทบาทสำคัญ
     เป็นคนเดียวที่เข้าใจปัญหา
     เป็นผู้ที่พึ่งพาได้ฯ
  4. แยกเด็กออกมา
     บ้านของตนเอง
     บ้านของเด็ก
     โรงเรียน ฯ
  5. สัมพันธ์แบบลับ
     ติดต่อแบบส่วนตัว ฯ
  6. ติดต่อเรื่องเพศ
     สัมผัสร่างกาย
     เปิดสื่อลามกเด็กให้ดู
     กระทำทางเพศฯ
  7. ควบคุม
     ห้ามบอกใคร
     ข่มขู่
     ทำให้กลัว ฯ

Online Child Sexual Exploitation

  1. Grooming
  2. Sexting
  3. Sextortion (sex + extortion/corruption)
  4. Livestreaming
  5. Child Sexual Exploitation Material

สัญญานเตือนภัย
• โปรไฟล์ไม่เคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวไม่ตรงกับสิ่งที่พูดคุยกัน
• ตีสนิทเร็วเกินไป บอกรักเร็ว พยายามยั่วยวนหรือโน้มน้าวให้สื่อสารในช่องทางส่วนตัว แนะนำให้เราเปลือยหรือมีเพศสัมพันธ์ผ่านการสนทนาทางวีดีโอ
• กล้องเสียตลอด – เป็นข้ออ้าง จึงใช้วิธีส่งภาพเปลือยที่อ้างว่าของเขาให้แทน
• ต้องการความช่วยเหลือ – ต้องการเงินสำหรับเหตุฉุกเฉินบางอย่าง เช่น รักษาพยาบาล เดินทางฯ

สื่อลามกอนาจารอินเทอร์เน็ต
• ตัวอย่าง Cases
• เด็กหญิง 5 ขวบ
• พ่อพระ
• Modeling
• จำไม่ได้

สหรัฐฯไม่อนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี สมัครใช้งาน

เมื่อเกิดเหตุ ทำอย่างไร
• Report
• Share เพื่อช่วย
• ฟังด้วยใจ

“อยู่ตรงนั้น” เพื่อเขาอย่างแท้จริงทั้งกายและใจ และ “รับฟัง” โดย
• ไม่ตัดสินหรือตำหนิ
• ไม่คอมเม้นท์
• ไม่แทรกถาม
• ไม่แย่งซีน
• ฟังในสิ่งที่เพื่อนไม่ได้พูด

สถานการณ์ในประเทศไทย
ผลการสำรวจสถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ โดย COPAT ผ่านกลุ่มตัวอย่างคือเด็กนักเรียนอายุ 9-18 ปี จำนวน 15,318 คน พบว่า
• มากกว่า 83% ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านแท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน เพื่อพักผ่อนบันเทิง
• ประมาณ 67% เด็กใช้เวลาบนกับอินเตอร์เน็ทมากจนเกินไป จนเกิดความเสี่ยงต่อการเสพติดอินเตอร์เน็ทซึ่งถือเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่สำคัญ
• 74% เคยพบเห็นสื่อลามกอนาจารทางออนไลน์
• 50% เคยพบเห็นสื่อลามกอนาจารเด็ก
• 6% เคยครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก เคยส่ง ส่งต่อ หรือแชร์ สื่อลามกอนาจารทางออนไลน์ ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย
• 2% เคยถ่ายภาพหรือวีดีโอตนเองในลักษณะลามกอนาจารแล้วส่งให้คนอื่นๆ ด้วย ระหว่างเด็กชายและเด็กหญิง พบว่าเด็กชายมีการครอบครองสื่อลามกอนาจารมากกว่าเด็กหญิงถึง 3 เท่า และมีการส่ง ส่งต่อ หรือแชร์มากว่าเด็กหญิงเกือบ 2 เท่า
• เพศทางเลือก มีการครอบครองสื่อลามากอนาจารเด็ก และส่งส่งต่อ หรือแชร์มากที่สุด (มากกว่าเพศหญิงเกือบ 5 เท่า)

สรุปคำถาม-คำตอบ

  1. อยากให้ท่านวิทยากร ยกตัวอย่าง case ปัญหาการละเมิดเด็กออนไลน์ที่พบเห็นในปัจจุบัน ลักษณะหรือประเภทของปัญหาที่พบ เราจะได้เห็นภาพ หรือเข้าใจลักษณะปัญหามากขึ้น ตอบ กรณีเด็กหญิงห้าขวบ ผู้ชายมาแต่งงานกับแม่เพื่อจะหาโอกาสละเมิดเด็ก และยายเอะใจ จนนำไปสู่การจับกุมในที่สุด
  2. แนวทาง การทำงานของจิตอาสาในต่างแดนเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะเป็นไปในทิศทางใด ตอบ หลัก ๆ คือ ให้รายงานสิ่งที่พบเห็นให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสื่อสังคมนั้น ๆ
  3. จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาของ อ.ศิขริน อะไรคือความท้าทาย (ความยาก) ปัจจัย เงื่อนไขเกี่ยวกับการทำงานเรื่องนี้ให้สำเร็จ ไม่สำเร็จ มีอะไรบ้างค่ะ ตอบ ความยากลำบากอย่างแรก คือ เมื่อเห็นสื่อละเมิดเด็ก เราต้องหาว่าเด็กอยู่ที่ไหนเป็นอันดับแรก ซึ่งต้องอาศัยดูสิ่งประกอบในสื่อนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา เสื้อผ้า ของเล่น ฉากหลัง ซึ่งผู้กระทำที่มีประสบการณ์จะมีวิธีปกปิดไม่ได้ดูออก บางครั้งต้องใช้เวลาสืบเป็นหลายปี กว่าจะช่วยเด็กได้ ความยากอย่างที่สอง คือ ตามกฎหมายไทย การละเมิดเด็กยังไม่ได้ถูกแยกจากการละเมิดผู้ใหญ่
  4. มีสถิติเคสลูกเลี้ยงถูกพ่อเลี้ยงละเมิดไหมคะ? ตอบ มี ดังกรณีเด็กหญิงห้าขวบที่เล่าไปแล้ว
  5. ในจำนวนลูกเลี้ยงที่ถูกพ่อเลี้ยงละเมิด มีกี่เปอร์เซ็นต์ที่คนเป็นแม่รู้อยู่แก่ใจแต่สมยอม และในจำนวนแม่ที่สมยอมมีข้อมูลไหมคะว่าสมยอมเพราะเหตุใดบ้าง ตอบ ไม่มีสถิติที่อ้างอิงได้ในขณะนี้ ส่วนการสมยอม ส่วนหนึ่งคือเหตุผลทางเศรษฐกิจ การเห็นว่าทำแค่นี้ไม่น่าเสียหาย และได้เงินด้วย หรือแม่เองอาจผ่านประสบการณ์ทางเพศที่เลวร้าย หรือมาจากครอบครัวที่มีการละเมิดทางเพศระหว่างญาติ
  6. ผู้ป่วยโรคจิตทำผิดกฎหมายจะไม่ถูกดำเนินคดีใช่ไหมคะ? ถ้าคนที่มีปัญหาทางจิตไม่ต้องรับโทษ แล้วผู้ใคร่เด็กจะอ้างเหตุผลว่าจิตผิดปกติเพื่อเลี่ยงโทษได้ไหม ตอบ กฎหมายมีกำหนดระดับของการวิกลจริตที่ทำให้ไม่ต้องรับผิดในการกระทำ แต่กรณีผู้ใคร่เด็กไม่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่จะยกเว้นโทษได้ เพราะทำโดยรู้ตัวและตั้งใจทำ
  7. หากเด็กโตแล้ว จะเอาความ คดีแบบนี้จะมีหมดอายุความไหม ตอบ อายุความของการละเมิดจะต่างกันไปตามลักษณะความผิด โดยปกติผู้ละเมิดเด็กจะไม่ได้ทำครั้งเดียว หากคนหนึ่งแจ้งความ แม้อายุความจะหมด แต่ก็อาจทำให้นำสืบไปยังการกระทำผิดอื่น ๆ ใหม่ ๆ และนำไปสู่การนำตัวมาลงโทษได้ อย่างไรก็ดี จิตแพทย์แนะนำว่า หากผู้เสียหายรู้สึกว่าได้ผ่านพ้น และฝังอดีตไปแล้วโดยสิ้นเชิง การรื้อฟื้นใหม่จะไม่เป็นประโยชน์
  8. หน่วยงานอนุมัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม มีวิธีป้องกันไม่ให้ผู้ใคร่เด็กมาแฝงรับเด็กไปเลี้ยงได้ไหม (ประสบการณ์เมืองไทย) ตอบ เมืองไทยยังไม่มีกลไกที่เข้มแข็งเช่นนั้น
  9. ในประเทศไทย มีจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่ชำนาญด้านการบำบัดบาดแผลทางใจของผู้ใหญ่ที่เคยถูกละเมิดในวัยเด็กไหมบำบัด ตอบ เคสที่พบเจอ มักจะมาจากจังหวัดที่ไม่มีจิตแพทย์ แม้แต่จิตแพทย์สำหรับผู้ใหญ่ก็ยังมีไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ จิตแพทย์เฉพาะสำหรับเด็กยิ่งหายาก
  10. ผู้ใคร่เด็กที่เป็นหญิงมีไหม มากน้อยแค่ไหร่ ตอบ มี ไม่มากนัก
  11. Can you recommend some material in Thai language for mothers whose children are victims. Especially material of the effects to their children’s mental health. ตอบ แนะนำหนังสือ วัยที่เจ็บปวด (Childhood Disrupted) และยังมีคลิปที่น่าสนใจจากเพจ “แชร์เพื่อช่วย” คือ “การเตรียมเด็กออนไลน์ก่อนถูกล่วงละเมิดทางเพศ (Grooming) https://youtu.be/nUSB7jzyhg4 และ “ชีวิตที่หายไปในโลกโซเชียล” https://youtu.be/MlMHbo2S37k
  12. การเอารูปหลานโพสต์หน้า FB และถ้ามีคนเซฟรูปภาพหลานเราเอาไปทำอนาจารทางออนไลน์ได้หรือคะ? ตอบ ได้

อภิปรายทั่วไป

  1. รับแจ้งเหตุ เคส Online ที่มีในหลายประเทศ ชื่อ INHOPE ค่ะ ในไทยชื่อ Thaihotline.org
  2. กรณีที่พ่อแม่แยกกันอยู่ แต่สิทธิ์ในการเลี้ยงดูเด็ก ส่วนใหญ่ก็จะ 50-50 คุณแม่ต้องทำความเข้าใจพูดคุยกับลูกได้ทุกเรื่อง สังเกต อาการลูกด้ว
  3. ในประเทศอิตาลี อาการป่วย Pedophile นำมาอ้างอิงเพื่อลดโทษไม่ได้ แต่รัฐมีนโยบายวิจัยและบำบัด
  4. อิตาลี : เคสที่กล่าวถึงจบคล้าย ๆ กับนอร์เวย์ เด็กได้รับผลกระทบ พ่อป่วยจริง แม่ถูกสงสัยว่าป่วย สุดท้ายไม่มีใครถูกลงโทษหรือเยียวยาอะไรได้มากมาย
  5. ในนามสมาคมไทยเมืองเอริ์นเชิลด์สวีค ประเทศสวีเดน คือเราเพิ่งเข้ามาใหม่ในกลุ่มของ TWNE อาจจะยังไม่เข้าใจกระบวนการทำงาน หรือเป้าหมายของกลุ่มจิตอาสานี้ แต่จากการเข้าร่วมรับฟังวันนี้ ถือว่าเป็นประโยชน์มากค่ะ และจะนำมาปรับใช้กับการทำงานของสมาคมไทยฯที่เราทำอยู่ค่ะ เบื้องต้นสมาคมฯไทยได้ทำงานให้ความรู้กับคนไทยและเด็กไทยที่ย้ายมาอยู่สวีเดนกับแม่ โดยการทำงานร่วมกับครูไทย และองค์กรในคอมมูนที่เราอยู่ค่ะ และยินดีที่จะทำงานร่วมกันกับทาง TWNE ขอบคุณสำหรับวันนี้ค่ะ

ประเมินผล

  1. ความพอใจโดยรวมทั้งหมด – มากที่สุด 73% มาก 27%
  2. ความพอใจต่อการอธิบาย “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต และ นิยามศัพท์” – มากที่สุด 60% มาก 40%
  3. ความพอใจต่อการอธิบาย “ความรู้เรื่องการแสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็กออนไลน์” – มากที่สุด 53% มาก 47%
  4. ความพอใจต่อการบรรยาย “ข้อแนะนำ เพื่อมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหา” – มากที่สุด 47% มาก 47% ปานกลาง 7%
  5. ความชัดเจนในการนำเสนอของวิทยากร – มากที่สุด 53% มาก 47%
  6. ความพอใจต่อช่วง “ถาม-ตอบ” – มากที่สุด 53% มาก 47%
  7. ความพอใจต่อการดำเนินรายการ – มากที่สุด 47% มาก 47% น้อย 7%
  8. ความชัดเจนของสื่อที่ใช้ประกอบการนำเสนอ – มากที่สุด 60% มาก 27% ปานกลาง 7%
  9. ท่านประสงค์เข้าฟังในคอร์สต่อไปหรือไม่ 100%

สรุปและเรียบเรียง โดย จงเจริญ ศรแก้ว

Message us